“คำกลอนการขุดพระ”: เรื่องเล่าเกี่ยวกับการขุดพระกรุ ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่แต่งในทศวรรษ 2500

Main Article Content

พัชลินจ์ จีนนุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่าเกี่ยวกับการขุดพระกรุ ทั้งด้านสาเหตุของความนิยมในการขุดพระ กลุ่มคนที่สนใจพระกรุ และพฤติกรรมของการขุดพระ และศึกษาปัญหาที่มาจากการขุดพระ รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องคำกลอนการขุดพระที่แต่งในทศวรรษ 2500 ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักที่คนนิยมขุดพระกรุ คือ ความเชื่อว่าเทพเจ้าดลใจ สภาวะความยากจน ความโลภ และความสนใจในการเก็บสะสมของหายาก สำหรับกลุ่มคนที่สนใจพระกรุมีหลากเพศ วัย ศาสนา หลากพื้นที่ และหลากกลุ่ม มีทั้งชาวบ้าน ชี เณร และพระสงฆ์ ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกในขณะขุด จะให้ภาพของผู้ขุดที่อยู่ในอากัปกริยาต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ชวนมอง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง ปัญหาที่มาจากการขุดพระพบ 5 ประการ ได้แก่ ประการแรก คือ การทำลายเรือกสวนไร่นาเจ้าของพื้นที่ที่มีพระกรุฝังไว้ เนื่องจากชาวบ้านที่มาขุดพระต่างก็ขุดจนเป็นบ่อเป็นหลุม ประการที่สอง คือ การไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐ ประการที่สาม คือ ความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐ ประการที่สี่ คือ การทะเลาะวิวาทและการหลอกลวงซึ่งกันและกัน และประการที่ห้า คือ การปลอมแปลงพระขาย ในช่วงที่เกิดปัญหาขึ้นนี้ ผู้แต่งแนะแนวทางการแก้ปัญหาไว้ 7 ประการ ได้แก่ 1) ให้สะสมหรือบูชาพระเครื่องอื่น ๆ เพราะมีคุณค่าควรแก่การบูชาเหมือนกัน 2) ให้บูชาบิดามารดาแทนการบูชาพระกรุ 3) ให้ขยันทำมาหากิน ไม่หวังรวยทางลัด 4) ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต 5) เคารพและให้เกียรติสถานที่ 6) ไม่สร้างความขัดแย้งหรือหลอกลวงผู้อื่น และ 7) ให้จดจำคำสอนของผู้ใหญ่ โดยความนิยมการขุดพระกรุยังได้รับการผลิตซ้ำถึงปัจจุบัน ซึ่งผูกติดกับกิเลสตัณหาของมนุษย์

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กุสุมา สุ่มมาตร์, และราชันย์ นิลวรรณาภา. (2562). หนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน: การศึกษาโครงสร้างและวัจนลีลาในสัมพันธสารประเภทเรื่องเล่า. วารสารปาริชาต, 32(2), 26-36.

คมชัดลึก. (2555, 15 ธันวาคม). ‘วิโรจน์ จิวะรังสรรค์’ สะสม ‘พระกรุ’. สืบค้น 13 ธันวาคม 2563, จาก https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/147231

จำรัส เพชรทับ. (2545). ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลังของชาวบ้าน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ณรงค์ เส็งประชา. (2539). การศึกษาผลกระทบของตลาดพระเครื่องต่อสังคม ศาสนา และเศรษฐกิจ. นครปฐม: ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ทำนอง วงศ์พุทธ, นงลักษณ์ สูงสุมาลย์, และสมศรี ชัยวณิชยา. (2559). ความเชื่อร่วมเรื่องเครื่องรางของขลังในเมืองชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1), 307-331.

นภัสวรรณ สุภาทิตย์. (2553). ไสยศาสตร์ในนิทานพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี: ความเชื่อที่ยังปรากฏอยู่. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 2(3), 193-211.

เนียร จันทร์ทอง. (2505). คำกลอนการขุดพระ. สุราษฎร์ธานี: โรงพิมพ์พิมอำไพ.

ผู้จัดการออนไลน์. (2556, 1 มีนาคม). ฮือฮา! แห่ขุดพระกรุวัดพระปรางค์ เชื่อสร้างพุทธศตวรรษ 19-21. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2563, จาก https://mgronline.com/local/detail/9560000025809

พชรพร พนมวัน ณ อยุธยา. (2560, 29 กันยายน). คุยเรื่องลักลอบขุดของโบราณจากมุมมองเศรษฐศาสตร์: (ตอนที่ 2) “Micro-Level”. ไทยพับลิก้า. สืบค้น 29 ธันวาคม 2563, จาก https://thaipublica.org/2017/09/econoarchaeology4

พัชลินจ์ จีนนุ่น, วราเมษ วัฒนไชย, และปริยากรณ์ ชูแก้ว. (2560). วรรณกรรมภาคใต้ยุคการพิมพ์ พ.ศ. 2470 - 2520: ความหลากหลาย คุณค่าและภูมิปัญญา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2555). ลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเชฐ แสงทอง. (2545). ศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชาวนาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในวรรณกรรมนิราศ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โพสต์ทูเดย์. (2558, 9 กรกฎาคม). แตกตื่น!แห่ขุดพระกรุบนเขาคีรีวงศ์. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.posttoday.com/social/local/375295

มติชนออนไลน์. (2561, 21 กรกฎาคม). กรุแตก !! ยายนอนฝันมีคนมาบอกให้ไปเอาพระ เล่าให้ลูกชายฟัง พบพระสมัยอยุธยาหลายองค์. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1052891

มติชนออนไลน์. (2562, 11 ธันวาคม). กรุพระวัดดังแตก พบพระขุนแผน อายุหลายร้อยปีเพียบ (ชมภาพ). สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.matichon.co.th/region/news_1807110

วินัย สุกใส. (2547). วิเคราะห์ภาพสะท้อนเศรษฐกิจสังคมชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทร้อยกรองในยุคการพิมพ์ (พ.ศ. 2472-2503) (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุกัญญา สุจฉายา. (2556). ทุนวัฒนธรรมกับวัตถุมงคลในปัจจุบัน. วารสารอักษรศาสตร์, 42(2), 75-102.

อภินันท์ จันตะนี. (2559). เศรษฐกิจพระเครื่องเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 95-105.