“การสาปแช่ง” ในจารึกสุโขทัย

Main Article Content

ปารมิตา นิสสะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสาปแช่งในจารึกสุโขทัย อันแสดงถึงบทบาทหน้าที่ของคำสาปแช่งในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐสุโขทัย ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของการสาปแช่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้กระทำการสาปแช่ง พยานในการสาปแช่ง ผลของการสาปแช่ง ผู้รับผลของการสาปแช่ง ผู้สาปแช่งอยู่ในชนชั้นกษัตริย์และผู้ปกครอง พยานเป็นกลุ่มวิญญาณนิยม ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ พบการแช่งให้วิบัติในทางโลกและทางธรรม ผู้รับผลแบ่งเป็นผู้กล่าวคำสาปแช่งเป็นผู้รับผล คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นผู้รับผล และผู้ถูกกล่าวถึงเป็นผู้รับผล การสาปแช่งแสดงโลกทัศน์ของคนในสังคมสุโขทัย 2 ประเด็น ได้แก่ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของรัฐสุโขทัยและรัฐใกล้เคียง และการควบคุมสังคมในสังคมรัฐสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทางสังคมของรัฐสุโขทัยที่ใช้การสาปแช่งควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมทางใจควบคู่กับการใช้กฎหมายในการควบคุมสังคม

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2548). ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์, เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล, ประพีร์ วิริยะสมบูรณ์, เสาวคนธ์ สุดสวาสดิ์, สุดา ภิรมย์แก้ว, และสุรพันธ์ เพชราภา. (2548). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2553). อ่านโองการแช่งน้ำ ฉบับวิเคราะห์และถอดความ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวพรรณ ภัทรมูล. (2555). เขา “สาปแช่ง” อันใด ในจารึก?. ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. สืบค้น 23 กันยายน 2563, จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/articles/detail/9803

นิยพรรณ วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม: แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมา และสาระสำคัญ ด้านมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.

ปารมิตา นิสสะ. (2563). “ผี-พราหมณ์-พุทธ” สักขีพยานการแช่งชักในสมัยสุโขทัย: กรณีศึกษาจารึกปู่ขุนจิด ขุนจอด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(2), 433-444.

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (บ.ก.). (2559). ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย : หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วิกานดา เกียรติมาโนชญ์. (2558). รูปแบบและหน้าที่ของการสาบานและการสาปแช่งในวาทกรรมการเมืองไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2550). จารึกหินขอน 1. ใน ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2563, จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/900

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2535). ขนบธรรมเนียมประเพณี : ความเชื่อและแนวการปฏิบัติในสมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง งานวิจัยลำดับที่ 27 สถาบันไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อีจัน. (2563, 9 กรกฎาคม). ลุงพลสุดทน! ขอสาบานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยืนยันไม่ได้ฆ่าน้องชมพู่. สืบค้น 10 สิงหาคม 2563, จาก https://www.sanook.com/news/8204522/

Avdikos, E. (2011). “May the devil take your head and brain”: The curses of Karpathos, Greece, social counterstructures, and the management of social relations. Journal of American Folklore, 124(492), 88-117.

Demianova, Y. (2014). Cursing as a part of conflict speech genre. Mizhnarodny News: Kulturologiya, 2(3), 191-198.

Sharifi, S., & Ebrahimi, S. (2012). Assessing speech acts of curses and prayers in Persian. Theory and Practice in Language Studies, 2(9), 1911-1916.

Tafarroji, M., & Malekzadeh, P. (2015). Assessing speech acts of curses and prayers in Turkish. Cumhuriyet Science Journal, 36(3), 1226-1238.