การศึกษาวิเคราะห์คำพ้อง : กรณีศึกษาเปรียบเทียบภาษาเขมรกับภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำศัพท์ที่ใช้พ้องกันระหว่างคำศัพท์เขมรกับคำศัพท์ไทย และเพื่อจำแนกที่มาของคำศัพท์ที่ใช้พ้องกัน โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา จากพจนานุกรมจำนวน 2 ฉบับ คือ คำศัพท์ภาษาเขมรจากพจนานุกรมเขมรฉบับพุทธศาสนบัณฑิต พ.ศ.2512 หมวดตัวอักษร ឆ. (ฉ.) และคำศัพท์ภาษาไทยจากพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมวดตัวอักษร ฉ.
ผลการวิจัยพบว่า มีคำศัพท์สันนิษฐานว่าเป็นคำที่ใช้พ้องกันรวมทั้งสิ้น 64 คำ แบ่งเป็นคำที่มาจากภาษาต่าง ๆ ได้ 4 ลักษณะ คือ คำศัพท์เขมรที่พ้องกับคำศัพท์ไทย จำนวน 46 คำ คำศัพท์เขมรที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ที่พ้องกับคำศัพท์ไทย จำนวน 14 คำ คำศัพท์เขมรที่มาจากภาษาจีนที่พ้องกับคำศัพท์ไทย จำนวน 2 คำ และคำศัพท์เขมรที่มาจากภาษาไทยพ้องกับคำศัพท์ไทย จำนวน 2 คำ
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าภาษาเขมรกับภาษาไทย แม้จะอยู่ต่างตระกูลภาษากันแต่ทั้งสองภาษามีคำที่มีความคล้ายคลึงกันและใช้ร่วมกันอยู่จำนวนหนึ่ง
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน