ชาตินิยมและสังคมพหุวัฒนธรรม: ความย้อนแย้งในอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมจากเรื่องสั้นอาเซียน

Main Article Content

เมศิณี ภัทรมุทธา
ธัญญา สังขพันธานนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมในประเด็นความเป็นชาตินิยมและสังคมพหุวัฒนธรรมจากเรื่องสั้นของนักเขียนกลุ่มอาเซียน โดยศึกษาจากเรื่องสั้นอาเซียนจำนวน 100 เรื่อง ด้วยกรอบแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (Identity) และอัตลักษณ์ร่วม (Collective Identities) ผลการศึกษาพบว่า เรื่องสั้นอาเซียนจำนวน 13 เรื่องของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้แสดงถึงอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมในประเด็นความเป็นชาตินิยมและสังคมพหุวัฒนธรรมว่า คนอาเซียนเป็นคนที่มีสำนึกในชาตินิยมด้วยการมีอคติทางเชื้อชาติต่อคนเชื้อชาติอื่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนหรือในประเทศของตน ซึ่งปรากฏอคติทางเชื้อชาติ 3 ด้าน ได้แก่ สุขอนามัย วัฒนธรรม และรูปลักษณ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการอยู่ร่วมกันของคนต่างเชื้อชาติในประเทศเดียวกันจะทำให้เกิดอคติทางเชื้อชาติขึ้น แต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงสังคมพหุวัฒนธรรมที่คนต่างเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ซึ่งทำให้เกิดความย้อนแย้งในอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมของคนอาเซียนอย่างเห็นได้ชัดว่า คนอาเซียนเรียนรู้ รู้จักปรับตัว และสามารถยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติของคนเชื้อชาติอื่น ๆ ได้ แม้ว่าคนเชื้อชาติหลักจะยังคงมีอคติทางเชื้อชาติปรากฏอยู่ก็ตาม

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

จ่อง เจียน ไล. (2561). เขตอิสรภาพที่ไร้สิทธิครอบครอง. ใน กำปงมาลารวมเรื่องสั้นนักเขียนรางวัลซีไรต์ ไทย-มาเลเซีย (น. 241-259). ปทุมธานี: กองทุนกนกพงศ์ สงสมพันธุ์.

ชุลีพร วิรุณหะ. (2557). โลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: รากฐานประวัติศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2560). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี: นาคร.

นันดา วีรวิทยานุกูล. (2544). สตรีกับอัตลักษณ์. ใน กนกศักดิ์ แก้วเทพ (บ.ก.), สตรีศึกษา 2 ผู้หญิงกับประเด็นต่างๆ (น. 280-364). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

บุนทะนอง ชมไชผน. (2555). ท้องนาพิศวาส. ใน กระดูกอเมริกัน (น. 211-220). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พิเชฐ แสงทอง (บ.ก.). (2556). ปู่ของจมา. ใน ม้าบินของมาเรีย ปินโต รวมเรื่องสั้นอาเซียนคัดสรร (พิมพ์ครั้งที่ 2) (น. 51-59). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2549). แนวคิดพหุวัฒนธรรม (Multiculturalism). กรุงเทพฯ: ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ ธัญญา. (2561). หุ่นไล่กาจากอาระกัน. ใน กำปงมาลา รวมเรื่องสั้นนักเขียนรางวัลซีไรต์ ไทย-มาเลเซีย (น. 131-151). ปทุมธานี: กองทุนกนกพงศ์ สงสมพันธุ์.

ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์. (2559). วิถีชีวิตสังคมเมืองและโลกาภิวัตน์. ใน วสันต์ ปัญญาแก้ว (บ.ก.), โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน (น. 43-52). เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มงคลเลิศ ด่านธานินทร์. (2551). หลักคิดชาตินิยมและมรดกวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาสังคมทันสมัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์. (2552). บทว่าด้วยอาหารและเครื่องดื่ม. สืบค้น 16 สิงหาคม 2562, จาก https://islamhouse.com/th/articles/206384/

มูฮัมมัด ซาและฮ์ ราฮามัด. (2553). โต๊ะกลมกับน้ำมันหอม. ใน โลกไร้พรมแดน: วรรณกรรมสัมพันธ์ ไทย-มาเลเซีย (น. 143-151). กรุงเทพฯ: สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย.

รัตนชัย มานะบุตร. (2556). กาลีมะฮ์. ใน โลกไร้พรมแดน: วรรณกรรมสัมพันธ์ ไทย-มาเลเซีย (น. 91-100). กรุงเทพฯ: สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย.

รัตนา โตสกุล. (2552). เฮือนเคยอยู่ อู่เคยนอน ต้องจรจำลา: ชาวลาวลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา. ใน สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ (บ.ก.), ความโกลาหลของวัฒนธรรมศึกษา ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรม (น. 178-360). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วัศรนันทน์ ชูทัพ. (2564). อัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรมชนบทไทยในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 13(2), 1-15.

ศิวพร ชัยประสิทธิกุล. (2546). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สกลกานต์ อินทร์ไทร. (2539). การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มเด็กปั๊มในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาจินต์ ปัญจพรรค์. (2559). น้ำกับน้ำใจ. ใน Antologi cerpen Malaysia-Thailand: รวมเรื่องสั้น มาเลเซีย-ไทย (น. 245-249). กัวลาลัมเปอร์: สถาบันการแปลภาษาและหนังสือแห่งมาเลเซีย [ITBM].

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2551). พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: ศูนย์ภูมิภาคทางสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อี เพียน โปร พอล. (2559). โต๊ะราชา. ใน Antologi cerpen Malaysia-Thailand: รวมเรื่องสั้น มาเลเซีย-ไทย (น. 69-79). กัวลาลัมเปอร์: สถาบันการแปลภาษาและหนังสือแห่งมาเลเซีย [ITBM].