นวัตกรรมเครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุประเภทเครื่องดีดและเครื่องตี เพื่อใช้ในกิจกรรมดนตรีผู้สูงอายุ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างนวัตกรรมเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดและเครื่องตี สำหรับผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมเครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุและการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อศึกษาภาวะความเครียดก่อนและหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ผลใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อตอบคำถามวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดและตี สำหรับผู้สูงอายุ 2) แบบประเมินความพึงพอใจหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) แบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนของตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 5 ราย โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้นวัตกรรมเครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ ประเภทเครื่องดีด ที่มีชื่อว่า “คุณอวบ” และเครื่องตี ชื่อว่า “คุณนิ้ง” โดยเครื่องดนตรีดังกล่าวมีคุณลักษณะตรงตามแนวคิดและการออกแบบของผู้วิจัย ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากกลุ่มอาสาสมัครที่ได้ใช้งานพบว่า นวัตกรรมเครื่องดนตรีนี้มีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของน้ำหนักที่มีความเบา ใช้งานง่ายและสะดวกต่อการพกพา สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างสมาธิและลดภาวะความเครียด รวมถึงยังส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ความสามัคคี และการสร้างปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้เล่นได้ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมเครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุและการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุพบว่า อาสาสมัครมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมเครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.82 โดยมีความเห็นที่ว่า เป็นนวัตกรรมที่เรียบง่ายและทันสมัย มีคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.76 โดยอาสาสมัครส่วนใหญ่มีความเห็นว่า กิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้สั้นและมีประโยชน์ต่อกลุ่มผู้สูงอายุ สร้างความสนุกสนานและเพลิดเพลิน เสริมสร้างองค์ความรู้ในด้านดนตรี และมีความสุขที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีในครั้งนี้ และ 3) ผลการศึกษาภาวะความเครียดก่อนและหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุพบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุในจำนวน 5 วันของอาสาสมัครทั้ง 5 รายมีระดับค่าเฉลี่ยความเครียดลดลง 6.6 ระดับ
แนวคิดจากการต่อยอดสู่การออกแบบนวัตกรรมเครื่องดนตรีให้มีคุณลักษณะที่มีความเหมาะสมและตอบสนองต่อกลุ่มผู้สูงอายุนั้น ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมเครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ ประเภทเครื่องดีดและเครื่องตีสามารถเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมดนตรีหรือใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบการละเล่นต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เสริมสร้างสุขภาวะในเชิงบวก เพิ่มศักยภาพทางทักษะดนตรีให้กับกลุ่มผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามารถใช้เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2561). สุขภาวะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 113-127.
ทรงศักดิ์ รักพ่วง และภุชงค์ เสนานุช. (2562). นวัตกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ: ความสำคัญต่อสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 205-215.
นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 24-37.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พนาสินธุ์ ศรีวิเศษ. (2562). ดนตรีประกอบพิธีกรรมสะเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ในเขตอีสานตอนใต้ของไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(1), 83-98.
ภาณุรัชต์ บุญส่ง, ระวิวรรณ วรรณวิไชย, และสุรีรัตน์ จีนพงษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมลำตัด เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(1), 138-155.
ภารดี พิริยะพงษ์รัตน์. (2557). การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความเครียดของนักศึกษา สาขาวิชาชีพด้านสุขภาพในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 20(2), 273-288.
วัชราภรณ์ เรืองสิทธิ์, จำลอง วงษ์ประเสริฐ, และกุลธิดา กุลประฑีปัญญา. (2561). กระบวนการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(3), 133-144.
วิชญ์ บุญรอด. (2560). นวัตกรรมเครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุและการศึกษาประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิชญ์ บุญรอด, พรพรรณ แก่นอําพรพันธ์, และภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์. (2561). ผลการศึกษาประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุโดยใช้เครื่องดนตรี Bamboo Bell. วารสารวิเทศศึกษา, 8(1), 81-106.
วิชญ์ บุญรอด (2564). เครื่องดนตรีสำหรับผู้สูงอายุตามรอยพ่อ (ในหลวงรัชกาลที่ ๙): กรณีศึกษา ครูพัฒนา สุขเกษม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8(1), 43-59.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2556). ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(2), 92-103.
อรรถกร เฉยทิม, นวลฉวี ประเสริฐสุข และอุรปรีย์ เกิดในมงคล. (2561). ความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 5(1), 85-108.
Baird, A., and Thompson, W. F. (2018). The Impact of Music on the Self in Dementia. Journal of Alzheimer's disease: JAD, 61(3), 827–841. https://doi.org/10.3233/JAD-170737
Cohen, G.D., Perlstein, S., Chapline, J., Kelly, J., Firth, K.M. and Simmens, S. (2006). The Impact of Professionally Conducted Cultural Programs on the Physical Health, Mental Health, and Social Functioning of Older Adults. The Gerontologist, 46(6), 2006, 726–734, https://doi.org/10.1093/geront/46.6.726
Dritsakis, G., van Besouw, R. M., Kitterick, P., and Verschuur, C. A. (2017). A Music-Related Quality of Life Measure to Guide Music Rehabilitation for Adult Cochlear Implant Users. American Journal of Audiology, 26(3), 268–282. https://doi.org/10.1044/2017_AJA-16-0120
Dvorak, A.L. and Boresow, E. (2019). Using the Adaptive Use Musical Instrument (AUMI) in Music Therapy Clinical Practice, Music Therapy Perspectives, 37(1), 1–13. https://doi.org/10.1093/mtp/miy012
Essl, G. and O'modhrain, S. (2006). An Enactive Approach to The Design of New Tangible Musical Instruments. Organised Sound, 11(3), 285-296. https://doi:10.1017/S135577180600152X
Gill, K. and Purves, D. (2009). A Biological Rationale for Musical Scales. PloS one Journal Online, 12(4), 1-3. https://doi:10.1371/journal.pone.0008144.
Grocke, D., Bloch, S., and Castle, D. (2009). The Effect of Group Music Therapy on Quality of Life for Participants Living with a Severe and Enduring Mental Illness. Journal of Music Therapy, 46(2), 90-104.
Jordan, C. (2019). When I'm 64: A review of instrumental music-making and brain health in later life. Experimental gerontology, 123, 17–23. https://doi.org/10.1016/j.exger.2019.05.006
Kaufmann, C. N., Montross-Thomas, L. P., and Griser, S. (2018). Increased Engagement with Life: Differences in the Cognitive, Physical, Social, and Spiritual Activities of Older Adult Music Listeners. The Gerontologist, 58(2), 270–277. https://doi.org/10.1093/geront/gnw192
Khidha, P. and Teerapong, T. (2019). Happiness of the Elderly: Meaning Through Works. Journal of Human Sciences, 20(3), 174-199.
Ministry of Public Health. (2016). Department of Mental Healthscreening test for stress 5 (ST-5). Retrieved September 28, 2019 From https://www.dmh.go.th/test/qtest5/
Rio, R. (2018). A Community-Based Music Therapy Support Group for People with Alzheimer's Disease and Their Caregivers: A Sustainable Partnership Model. Frontiers in medicine, 5, 293. https://doi.org/10.3389/fmed.2018.00293
Sakamoto, M., Ando, H., and Tsutou, A. (2013). Comparing the effects of different individualized music interventions for elderly individuals with severe dementia. International Psychogeriatrics, 25(5), 775-784. https://doi:10.1017/S1041610212002256
Seo, J., Lisa G. and Tiffany S. (2016). Exploring the Impact of Creative Expression through Interactive Art Making on Older Adults’ Well-being. Digital Creativity, 27(4), 358-368.
Trotter, T. (1906). The Emotional Appeal in Instrumental Music. Proceedings of the Musical Association, 33, 81-104. https://doi:10.1093/jrma/33.1.81
Wall, M., and Duffy, A. (2010). The effects of music therapy for older people with dementia. British Journal of Nursing (Mark Allen Publishing), 19(2), 108-113. https://doi.org/10.12968/bjon. 2010.19.2.46295
Wattanasoei, S., Binson, B., Kumar, R., Somrongthong, R., and Kanchanakhan, N. (2017). Quality of Life Through Listening Music Among Elderly People in Semi-Urban Area, Thailand. Journal of Ayub Medical College, Abbottabad: JAMC, 29(1), 21–25.
World Health Organization. (2015). Global strategy on diet, physical activity and health: Physical activity and older adults. Retrieved September 25, 2019. From http://www.who.int/dietphy sicalactivity/factsheet_olderadults/en/