การศึกษาเชิงประวัติการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “อัน”
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงประวัติการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “อัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “อัน” โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาภาษาในแนวไวยากรณ์หน้าที่แบบลักษณ์ภาษาและแนวคิดเกี่ยวกับการกลายเป็นคำไวยากรณ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่มีการตีพิมพ์แล้วแบ่งเป็น 3 ช่วงสมัย ผลการศึกษาพบว่า คำว่า “อัน” ปรากฏหน้าที่ไวยากรณ์ทั้งสิ้น 7 ลักษณะคือ คำนาม คำบ่งกลุ่มนาม คำลักษณนาม คำสรรพนาม คำบ่งอนุประโยคสัมพัทธ์ คำบ่งอนุประโยคแฝงวิเศษณ์ และคำแสดงหัวเรื่อง ช่วงสมัยสุโขทัยแสดงลักษณะการเป็นคำนามของคำว่า “อัน” ชัดเจนมากที่สุดมีความหมายหมายถึง “สิ่ง” และการเป็นคำที่มีความหมายกว้างจึงทำให้คำว่า “อัน” ได้รับหน้าที่ไวยากรณ์อื่นๆ ตามมา ได้แก่ การเป็นคำบ่งกลุ่มนาม ไปสู่คำแสดงหัวเรื่อง คำลักษณนาม คำสรรพนาม คำบ่งอนุประโยคสัมพัทธ์ และคำบ่งอนุประโยคแฝงวิเศษณ์ ตามลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของคำว่า “อัน” นั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ทั้งทางวากยสัมพันธ์และอรรถสัมพันธ์ เนื่องจากเมื่อได้รับหน้าที่ไวยากรณ์ใหม่ คำว่า “อัน” จะถูกบังคับการปรากฏไปตามหน้าที่ไวยากรณ์นั้นๆ และผ่านการวิเคราะห์ใหม่จนสูญเสียคุณสมบัติของหมวดคำนามไป ส่วนทางด้านอรรถศาสตร์นั้นเมื่อได้รับหน้าที่ไวยากรณ์ใหม่ทำให้คำว่า “อัน” มีความหมายทั่วไปมากขึ้น โดยมีความหมายเชิงอุปลักษณ์ตามบทบาททางไวยากรณ์ใหม่ที่ได้รับนั้น
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ชวนพิศ อิฐรัตน์. (2518). การใช้คำและสำนวนในสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. (2522). คำลักษณนามครอบจักรวาล. ใน เปิดกรุ. (34 - 35). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทพี จรัสจรุงเกียรติ. (2543). หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวหลวง วงษ์ภักดี. (2528). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำลักษณนามในสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยากับสมัยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภารัตน์ พรหมปภากร. (2539). การแปรและการเปลี่ยนแปลงของคุณานุประโยคในภาษาไทยสมัย รัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี กุลละวณิชย์. (2549). อนุประโยคขยายนาม: คุณานุประโยคและอนุประเติมเต็มนาม. ใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ). หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในไวยากรณ์ไทย. (7-63). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2515). การใช้ภาษาร้อยแก้วในภาษาไทยสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ กิจสมบัติ. (2524). การใช้คำ ที่ ซึ่ง อัน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท). (2526). ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
ไพทยา มีสัตย์. (2540). การศึกษาคำช่วยหน้ากริยาที่กลายมาจากคำกริยาในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาสินี ศรหิรัญ. (2524). ที่ ซึ่ง อัน ในคุณานุประโยค. วารสารอักษรศาสตร์, 11(1), 50-59.
เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา. (2544). การศึกษาคุณานุประโยคในวรรณกรรมประเภทสารคดีสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
__________. (2550). การขยายหน้าที่ และความหมายของคำว่า "ตัว" ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง พ.ศ.2551. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยิ่งยศ กันจินะ. (2550). การศึกษาประโยคความซ้อนที่ใช้ "ที่ ซึ่ง อัน" ตามแนวภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรียงความชนะเลิศรางวัลทุนภูมิพล พ.ศ. 2522-2547. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
_________. (2519) “คำสันนิษฐานว่าด้วยความเป็นมาของ “คำลักษณนามอัน.” ใน ภาษาสังสรรค์. กรุงเทพฯ : ไทยเขษม.
สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2555). พัฒนาการของคำว่า“เป็น”ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี สิงห์น้อย. (2548). คำนามประสม : ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างคำไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. (2551). “คำนาม คำบ่งกลุ่มนาม และคำลักษณนาม : หมวดหมู่ที่แตกต่าง ทับซ้อนและไล่เหลื่อม.” วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 26(2), 21-38.
________. (2551). “คำกริยาประสมไทย: หมวดหมู่ที่ปรับเปลี่ยน ทับซ้อน และสับสน.” วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 27(2), 23-40.
________. (2552). การวิเคราะห์หน่วยสร้างกริยาประสมภาษาไทยในแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). คำเรียกชื่อพืชแบบพื้นบ้านไทย การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์ พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________. (2558). วจีวิภาคและวากยสัมพันธ์:ภาษาศาสตร์ในแนวหน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา. (เอกสารคำสอน) ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Ekniyom, P. (1971). Relative clauses in Thai. Thesis M.A.University of Washington. Fries, C.C. (1952). The Structure of English. New York: Harcourt, Brace & Co..Givón,T. (2001). Syntax: vol.1. Amsterdam; Philadelphia: John Benjamins.
_________. (2001). Syntax: vol.2. Amsterdam; Philadelphia : John Benjamins.
Heine, B. and Reh, M. (1984). Grammaticalization and Reanalysis in African Languages. Virginia: Helmut Buske.
Heine, B., Claudi, U., & Hünnemeyer, F. (1991). Grammaticalization: A conceptual framework. Chicago: University of Chicago Press.
Hopper, P . J., & Traugott, E. C. (2003). Grammaticalization. (2nd Edition). Cambridge Textbooks in Linguistics. Cambridge: Cambridge University Press.
Kullavanijaya, P. (2008). A Historical Studyof /thii/ in Thai. In Anthony V.N.Diller (ed). The Tai-Kadai Languages. (445 - 451). London: Routledge.
Lehmann, C. (2002). Thoughts on grammaticalization. (2nd revised edition). Erfurt: Seminar für Sprachwissenschaft der Universität.
Meillet, A. (1912). L’évolution des formes grammaticales. Scientia, 26(6), 384 - 400.
Placzek, J. A. (1978). Classifiers in Standard Thai: A Study of Semantic Relations between Headwords and Classifiers. M.A. thesis, University of British Columbia.
Singnoi, U. (2008). Noun classifier construction in Thai: A case study in Construction Grammar. Manusaya : Journal of Humanities, 11(1), 76 - 90.
Sornhiran, P. (1978). A Transformational Study of Relative Clauses in Thai. Ph.D. thesis, University of Texas.