เทคนิคการผันคอร์ดเมเจอร์เพื่อการพัฒนาทักษะ การสะกดคอร์ดและการสร้างคอร์ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเทคนิคการผันคอร์ดเมเจอร์ และเพื่อหาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการสะกดคอร์ดและการสร้างคอร์ด หลังการใช้เทคนิคการผันคอร์ดเมเจอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ตะวันตก มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 6 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองจำนวน 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เทคนิคการผันคอร์ดเมเจอร์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการสะกดคอร์ดและการสร้างคอร์ด
ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการสะกดคอร์ดและการสร้างคอร์ดของกลุ่มตัวอย่าง หลังการใช้เทคนิคการผันคอร์ดเมเจอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ที่ดี โดยด้านการตอบคำถามได้อย่างถูกต้องในการตอบครั้งแรก และด้านจำนวนครั้งที่ตอบคำถามผิด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนด้านเวลาที่ใช้ในการสะกดคอร์ดและการสร้างคอร์ด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2560). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เกศกะรัต.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2548). ทฤษฎีดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (ม.ป.ป.). สถิติเพื่อการวิจัย. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธีระ กุลสวัสดิ์ (ผู้บรรยาย). (19 มิถุนายน 2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
นพพร ด่านสกุล. (2543). ปฐมบททฤษฎีดนตรี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ปราณี หลำเบ็ญสะ (ผู้บรรยาย). (11 มิถุนายน 2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พันธุ์เอก ใจหลวง. (2557). การพัฒนาชุดการสอนสาขาวิชาทฤษฎีดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพฯ.
พีระพล ศิริวงศ์. (14 พฤศจิกายน 2552). ตั้งระดับนัยสำคัญ 0.05 หรือ 0.01 ... เท่าไหร่ดี !?. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561, จาก http://krupee.blogspot.com/2009/11/05-01.html
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2561). ทฤษฎีดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2549). การคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(1), 17-28.
Benward, B. and Saker, M. (2009). Music In Theory And Practice (9th ed., Vol.1). New York: McGraw-Hill Education.
Duckworth, W. (1992). A Creative Approach To Music Fundamentals. California: Wadsworth.
Harder, P. and Steinke, G. (2010). Basic Materials In Music Theory: A Programed Course. New Jersey: Prentice Hall.
Horn, S. (March 2, 2013). Moveable Chords For Mandolin & Other Stringed Instruments Tuned In Fifths. Retrieved February 28, 2018, from https://ouibis.com/mandoSymmetry/wp-content/uploads/2013/02/mando-jazz-chords-rev2-03-2013.pdf
Latarski, D. (2011). Guitar Theory Illustrated. North Carolina: Lulu Press.
Nzewi, M. (2007). A Contemporary Study of Musical Arts Informed by African Indigenous Knowledge Systems Volume 2: The Stem: Growth. Cape Town: African Minds.
Pilhofer, M. and Day, H. (2015). Music Theory For Dummies. New Jersey: John Wiley & Sons.
Shergold, R. (1993). Harmony And Voice Leading In Late Scriabin. Master Thesis, M.A., McGill University, Montreal.