วงประโคมแบบปัญจวาทยะประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง วงประโคมแบบปัญจวาทยะประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาวงประโคมแบบปัญจวาทยะประเทศไทย โดยใช้ทฤษฎีประวัติศาสตร์เฉพาะกรณีของฟรานซ์ โบแอส เป็นกระบวนการที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาเชื่อมโยงเพื่อหาประวัติความเป็นมาวงประโคมแบบปัญจวาทยะประเทศไทยเป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยปี่และกลองเป็นหลัก โดยได้รับรูปแบบมาจากวงปัญจวาทยะในรัฐเกรละทางตอนใต้ของอินเดีย วงปัญจวาทยะของอินเดียได้แพร่กระจายมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมการเผยแพร่ศาสนา สำหรับประเทศไทยได้รับรูปแบบวงปัญจวาทยะจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ผ่านมาทางอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัย ส่วนรูปแบบวงปัญจวาทยะตามแบบลัทธิเถรวาทของศาสนาพุทธรับจากอาณาจักรตามพรลิงค์ และรับวงปัญจวาทยะตามแบบลัทธิมหายานของศาสนาพุทธจากอาณาจักรศรีวิชัย โดยเข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยในด้านการเมืองการปกครองและพิธีกรรมทางศาสนา มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวงปัญจวาทยะไปตามท้องถิ่น
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กรมการศาสนา. (2558). ศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
กรมศิลปากร. (2513). ลิลิตยวนพ่าย. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.
___________. (2527). จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
เจนจิรา เบญจพงศ์, ผู้รวบรวม. (2555). ดนตรีอุษาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. (2473). ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์. พระนคร: อักษรนิติ์.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2518). ดนตรีในพระธรรมวินัย. กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์.
__________ . (2523). เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. (2545). ลิลิตตะเลงพ่าย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
พระคลัง (หน) เจ้าพระยา. (2549). ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พระญาลิไทย. (2554). ไตรภูมิพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์.
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สามลดา ยิปซี กรุ๊ป.
รวี สิริอิสสระนันท์, บรรณาธิการ. (2559). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ, คำให้การกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด . นนทบุรี: ศรีปัญญา.
วิเชียร ณ นครและคณะ. (2521). นครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: อักษรสัมพันธ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. กรุงเทพมหานคร: เซ็นจูรี่.
Mahitha Varma. (2013). The role of music in the temples of northern kerala. Retrieved March 6, From https://bit.ly/2JHg0DL