การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คำศัพท์ตามทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้มัลติมีเดีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเรียนรู้คำศัพท์เป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษา แต่กระบวนการเรียนรู้คำศัพท์ของมนุษย์มีความซับซ้อนเนื่องจากกลไกในการจำมีข้อจำกัดหลายด้าน ในขณะเดียวกันการประยุกต์ใช้มัลติมีเดียได้เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อผู้เรียนในยุคปัจจุบันเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญาของผู้เรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้นและลึกซึ้งมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้บูรณาการทฤษฏีการเรียนรู้โดยใช้มัลติมีเดียที่เน้นส่งเสริมความจำ ผสมกับการเรียนรู้คำศัพท์ เป็นรูปแบบผสมผสาน ข้อมูลเชิงคุณภาพมาจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน จากสาขาการสอนภาษาอังกฤษ การออกแบบการสอน และด้านพุทธิปัญญา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้รูปแบบการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบดังนี้ (1) ข้อมูลนำเข้า มีลักษณะเป็นสื่อตามหลักการการเรียนรู้โดยใช้มัลติมีเดีย (2) กระบวนการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นระหว่างเรียน และขั้นหลังเรียน (3) การประเมินผล ประกอบด้วยการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ การทดสอบวัดความคงทนในการจำ การทำสอบวัดการนำคำศัพท์ไปใช้งาน และการสำรวจความคิดเห็นในการใช้งานรูปแบบการเรียนรู้ VCML (4) ผลผลิต ประกอบด้วยผลสัมฤทธิ์ 2 ด้าน คือ ผลสัมฤทธิ์ในการรู้ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้งาน และ (5) ผลลัพธ์ ประกอบด้วย การขยายขนาดวงคำศัพท์ ความคงทนในการจำ และความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานรูปแบบการเรียนรู้ VCML ในส่วนข้อมูลเชิงปริมาณได้มาจากการทดลองรูปแบบการเรียนรู้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ความคงทนในการจำสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.01)
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
Alessi, S., & Trollip, S. (2001). Multimedia for learning (Vol. New Jersey: Allyn and Bacon).
Asgari, A., & Mustapha, A. B. (2011). The Type of Vocabulary Learning. Strategies Used by ESL Students in University Putra Malaysi. English Language Teaching, 4(2), 84-90.
Baddeley, A. D., & Hitch, G. (1974). Working memory Psychology of learning and motivation, 8, (47-89).
Browne, C. (2013). The new general service list: Celebrating 60 years of vocabulary learning. The Language Teacher, 37(4), 13-16.
Hammer, J. (1993). The Practice of Language Teaching. New York: Longman.
Kim, Y. J. (2008). The role of task-induced involvement and learner proficiency in L2 vocabulary acquisition. Language Learning, 58(2), 285-325.
Liu, M. (1995). Contextual enrichment through hypermedia technology: implications for second language learning. Computers in Human Behavior, 11(3-4), 439-450.
Mayer, R. E. (2005). Principles for managing essential processing in multimedia learning: Segmenting, pretraining, and modality principles. The Cambridge handbook of multimedia learning, 169-182.
Mayer, R. E. (2008). Learning and Instruction. New York: Cambridge University Press.
Mayer, R. E. (2009). Multimedia learning. New York: Cambridge University Press.
Mayer, R. E. (2014). Based principles for designing multimedia instruction. Acknowledgments and Dedication, 59-70.
Nation, I. S. P. (2001). Learning Vocabulary in Another Language. Cambridge: Cambridge University Press.
Nation, I. S. P. (2006). How large a vocabulary is needed for reading and listening? . The Canadian Modern Language Review, 63, 59–82.
Nation, I. S. P., & Beglar, D. (2007). A Vocabulary Size Test. The Language Teacher, 31(7), 9-13.
Nation, P. (2007). The four strands. International Journal of Innovation in Language Learning and Teaching, 1(1), 2-13.
Nation, P., & Yamamoto, A. . (2012). Applying the four strands to language learning. International Journal of Innovation in English Language Teaching and Research, 1(2), 173-187.
Nunan, D. (1999). Second Language Teaching and Learning. Boston: Heinle and Heinle.
Paivio, A. (1986). Mental representations: A dual coding approach. UK: Oxford University Press.
Saengpakdeejit, R. (2014). Strategies for Dealing with Vocabulary Learning Problems by Thai University Students. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 7, 14(1), 147-168.
Supatranont, P. (2005). A comparison of the effects of the concordance-based and the conventional teaching methods on engineering students' English vocabulary learning. Doctoral Dissertation, Chulalongkorn University.
Sweller, J. (1988). Cognitive load during problem solving: Effects on learning. Cognitive Science, 12, 257-285.
Tassana-ngam, I. (2004). The Effect of Vocabulary Learning Strategies Training on Thai University Students’ Word Retention in the Second Language Classroom. Doctoral Dissertation, University of Essex.