เมื่อคืนได้ตายไปแล้ว: สภาวะสมัยใหม่และภาพตัวแทนของชนบทในเรื่องสั้นไทยและมาเลเซียทศวรรษที่ 2510-2520

Main Article Content

พิเชฐ แสงทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์เรื่องสั้นของนักเขียนไทยและมาเลเซียเพื่อเปรียบเทียบการสร้างภาพตัวแทนท้องถิ่นที่พัฒนาของนักเขียนทั้งสองประเทศว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร การศึกษาพบว่าเรื่องสั้นไทยและมาเลเซียในช่วงทศวรรษ 2510-2520 สะท้อนถึงลักษณะอุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกัน นักเขียนเชื่อว่าวรรณกรรมเป็นเครื่องมือในการสะท้อนและแก้ปัญหาสังคม การพรรณนาภาพท้องถิ่นโดยนักเขียนทั้งสองประเทศนั้นคือท้องถิ่นที่ไม่พัฒนา ความอดอยากยากแค้นและความขาดแคลน นักเขียนเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมกันที่ชนบทควรได้รับจากวาทกรรมการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษา ขณะที่พวกเขายอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงของชนบทเป็นผลของการพัฒนาที่ไม่อาจเลี่ยงได้ เรื่องสั้นของทั้งสองประเทศสะท้อนถึงภาวะอารมณ์ของชนบทที่ตกอยู่ในสภาวะระหว่างเขาควายอันจะต้องเลือกระหว่างความเป็นสมัยใหม่และวิถีชนบทดั้งเดิม วรรณกรรมมีความมุ่งเสนอการแก้ปัญหาสังคม แต่ก็ไม่อาจพบทางออกที่เหมาะสม อันเป็นลักษณะร่วมของทั้งสองชาติซึ่งมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กรณ์ ไกรลาศ. (2519). ดอกไม้สีทอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผ่านฟ้าพิทยา.

ซาราห์ ราฮีม. (2522). เมื่อคืนได้ตายไปแล้ว. ใน กลับสู่ชนบท: รวมเรื่องสั้นจากมาเลเซีย (ดุษณี ศรีบุตร, แปล). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

บาร์บารา วัตสัน อันดายา, และลีโอนาร์ด วาย. อันดายา. (2549). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย (พรรณี ฉัตรพลรักษ์, แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน. (2553). ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน. กรุงเทพฯ: อ่าน.

พิเชฐ แสงทอง. (2550). วรรณกรรมเพื่อชีวิตยังไม่ตาย แต่แปลงกายเป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์. ใน วาทกรรมวรรณกรรม: เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในวรรณกรรมศึกษา (น. 229-258). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ร. บุษยากรณ์. (2518). แรมกลับบ้าน. ใน สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บ.ก.), แล้งเข็ญ (รวมเรื่องสั้นร่วมสมัยไทย). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สถาพร ศรีสัจจัง. (2519). นาน้ำฟ้า. ใน สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บ.ก.), คำขานรับ (รวมเรื่องสั้นร่วมสมัยไทย). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

อัศศิริ ธรรมโชติ. (2522). การเดินทางจากท้องทุ่ง. ใน เจนภพ จบกระบวนวรรณ (บ.ก.), รวมเรื่องสั้นวิทวัสชุดที่ 1 ขานรับปีชาวนา (น. 57-68). กรุงเทพฯ: วิทวัส.

อาซีซี อับดุลลาห์. (2522 ก). โครงกระดูกเดินได้. ใน กลับสู่ชนบท: รวมเรื่องสั้นจากมาเลเซีย (ดุษณี ศรีบุตร, แปล). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

อาซีซี อับดุลลาห์. (2522 ข). พ่อ. ใน กลับสู่ชนบท: รวมเรื่องสั้นจากมาเลเซีย (ดุษณี ศรีบุตร, แปล). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

อาห์หมัด มะห์มุด. (2522). ซามัด โตยา. ใน กลับสู่ชนบท: รวมเรื่องสั้นจากมาเลเซีย (ดุษณี ศรีบุตร, แปล). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

เอ. ชูฮุร ฮารูม. (2522). ฝุ่นกัวลาลัมเปอร์. ใน กลับสู่ชนบท: รวมเรื่องสั้นจากมาเลเซีย (ดุษณี ศรีบุตร, แปล). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

Omar Mohd, H. (1981). Cerpen Melayu Moden Selepas Perang. In A. Ridhwan (Ed.), Di Sekitar Pemikiran Kesusasteraan Malaysia 1957-1972 (pp.16-51). Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka.

Yahaya, I. (1988). Return to the Village? Or… In M. H. Saleh (Ed.), An Anthology of Contemporary Malaysian Literature. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka, Ministry of Education.