การปรับแต่งคุณภาพเสียงจะเข้ ตามแนวทางของอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของเสียงจะเข้และวิธีการปรับแต่งคุณภาพเสียงจะเข้ตามแนวทางของอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรม การศึกษาข้อมูลภาคสนาม และการสัมภาษณ์บุคคลที่ได้รับการสืบทอดความรู้ด้านการปรับแต่งเสียงจะเข้จากอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่เกี่ยวกับเสียงจะเข้มีสาเหตุจากส่วนประกอบของเครื่องดนตรี ได้แก่ ท้องจะเข้ โต๊ะจะเข้ แหนจะเข้ สายจะเข้ นมจะเข้ และซุ้มหรือหย่อง นอกจากนี้ปัญหาที่พบยังเกิดมาจากการใช้งานและการปรับแต่งเสียงจะเข้โดยขาดความรู้ของผู้ใช้งาน ในด้านการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ในการปรับแต่งเสียงจะเข้ของอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้กับช่างทำจะเข้ และศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบของชิ้นส่วนจะเข้ที่มีผลต่อเสียงด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังได้คิดค้นวิธีการปรับแต่งเสียงและประดิษฐ์ชิ้นส่วนของจะเข้ขึ้นใหม่ คือ สายจะเข้แบบควั่น การฝังเหล็กลงในสาบจะเข้ การใช้สแตนเลสและทองเหลืองมาประดิษฐ์โต๊ะจะเข้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ขำคม พรประสิทธิ์. (2560). การดีดจะเข้ขั้นพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมกฤช ทองนพคุณ. (2551). ลักษณะพิเศษเฉพาะในการสร้างจะเข้ของอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ. (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิรายุ บุญจิตร. (1 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
ชวลิต แก้วประเสริฐ. (1 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
ชวลิต แก้วประเสริฐ. (3 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2544). เครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2550). การสร้างและคุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีไทย ภาคอีสานใต้และภาคกลาง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนศักดิ์ มหิงษ์. (2558). จะเข้ในบริบทสังคมไทย. วารสารวิจิตรศิลป์, 6(2), 206-240.
เมทะนี พ่วงภักดี. (3 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ. (2554). วิธีการประดิษฐ์จะเข้ให้มีคุณลักษณะเสียงดัง กังวาน ใส และการตกแต่งคุณภาพเสียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนอง คลังพระศรี. (2538). ครูเอื้อ ฉัตรเฉลิม ช่างจะเข้แห่งเมืองชล. วารสารเพลงดนตรี, 2(2), 79-82.
สุรศักดิ์ ทองคำศรี. (3 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
เหมราช เหมหงษา. (2541). วิวัฒนาการการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้: การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุเทน เปียหลอ. (2 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.
อุเทน เปียหลอ. (3 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.