กลวิธีทางภาษากับการนำเสนอภาพ “หญิงร้ายชายเลว” ในรายการพุธทอล์คพุธโทร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้ให้คำปรึกษาและผู้ขอคำปรึกษาในรายการพุธทอล์คพุธโทรเลือกใช้เพื่อนำเสนอภาพ “หญิงร้ายชายเลว” ในเหตุการณ์การนอกใจ เก็บข้อมูลจากคลิปวิดีโอของรายการทางเว็บไซต์ยูทูบ (YouTube) ที่มียอดการเข้าชมสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา 6 อันดับเเรก นับตั้งแต่ มกราคม 2562 - มกราคม 2563 โดยใช้กรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์วิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ผู้ให้คำปรึกษาและผู้ขอคำปรึกษาเลือกใช้เพื่อนำเสนอภาพ “หญิงร้ายชายเลว” ในเหตุการณ์การนอกใจมี 5 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำศัพท์ การใช้อุปลักษณ์ การใช้ถ้อยคำบริภาษ การใช้คำถามวาทศิลป์ และการกล่าวอ้าง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าถึงแม้คนในสังคมไทยจะมีทัศนคติเชิงลบต่อทั้งสามีหรือภรรยาที่นอกใจและชายชู้หรือหญิงชู้ แต่กลับปรากฏเด่นชัดว่าคนในสังคมไม่ยอมรับและต่อต้านพฤติกรรมการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายอื่นหรือสามีผู้อื่นของภรรยาหรือหญิงชู้ ในขณะที่การมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงอื่นของสามีที่มีภรรยาแล้ว คนในสังคมกลับมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ อีกทั้ง ในกรณีชายชู้ถูกกล่าวถึงน้อยมากจนเสมือน “ไม่มีตัวตนหรือไม่มีส่วนร่วม” ในการกระทำความผิดในเหตุการณ์การนอกใจ สะท้อนพื้นฐานค่านิยม “ผัวเดียวหลายเมีย” ซึ่งอาจมาจากแนวคิดชายเป็นใหญ่ที่มีอยู่ในสังคมไทยมาเป็นระยะเวลานาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กฤษดาวรรณ หงส์ลดารมภ์, เเละจันทิมา เอียมานนท์ (บ.ก.). (2549). มองสังคมผ่านวาทกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยรัตน์ กลิ่นสุวรรณ. (2556). ความแตกต่างระหว่างชาย-หญิง ในการให้คำแนะนำปัญหาชีวิตรัก ในห้องศาลาประชาคม เว็บไซต์พันทิปดอทคอม: การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกศสุดา นาสีเคน. (2557). เรื่องเล่าแนว “รักโศก” และกลวิธีการให้คำปรึกษาในพื้นที่สื่อสาธารณะ: กรณีศึกษารายการวิทยุ “คลับฟรายเดย์” (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขจิตา ศรีพุ่ม. (2562). อุดมการณ์ทางเพศในพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2: การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(54), 218 – 245.
เขมริน จุลมาศ. (2551). การสร้างความเป็นจริงทางสังคมของรายการ “เรื่องจริงผ่านจอ” และการรับรู้ของผู้ชม (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เรื่องเบื้องหลังรายการ “พุธทอล์ค พุธโทร” ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน. (2562). สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.sanook.com/news/7979350/
ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ. (2522). สังคมไทย. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
ชนกพร พัวพัฒนกุล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมการพยากรณ์ดวงชะตา: การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี: ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/ เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามเเนวภาษาศาสตร์: แนวคิดเเละการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญวัฒน์ อิพภูดม. (2562). ปรึกษาชีวิตรักกับ พุธทอล์ค พุธโทร: สำรวจ DATA ปัญหาความรักผ่านรายการสุดฮิต. สืบค้น 24 มกราคม 2563, จาก https://thematter.co/social/data puttalk/70827
นพวรรณ เมืองแก้ว. (2560). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการแนะนำปัญหาความรักของเพศที่สาม : กรณีศึกษารายการวิทยุ “ไก่คุ้ยตุ่ยเขี่ย”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 9(1), 1-20.
มลฤดี ลาพิมล, พิมพวัลย์ บุญมงคล, ศรินยา สิงห์ทองวรรณ, อุไรรัตน์ หน้าใหญ่, และรณภูมิ สามัคคีคารมย์. (2551). วาทกรรมเรื่องเพศ: ในหลักสูตรเพศศึกษาแนวใหม่: มุมมองการต่อรองและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาเเนวคิดไทย. นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/
ลลนา กาศวิบูลย์. (2544). การเมืองของการให้ความหมาย: นัยของ "ผู้หญิงไม่ดี" (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิสันต์ สุขวสิทธิ์. (2547). วัจนกรรมการบริภาษในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. (2556). “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทยสมัยใหม่จากทศวรรษ 2410 ถึงทศวรรษ 2480 (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ATIME. (2561, 6 มิถุนายน). ไปมีอะไรกับเพื่อนทั้งๆที่เรามีสามีและลูกแล้ว - HIGHLIGHT [พุธทอล์คพุธโทร] 30 พ.ค. 61 [วีดิโอ]. สืบค้น 24 มกราคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=cN_tzikHrSY&t=15s
ATIME. (2562, 13 กันยายน). จบแล้วงานแต่งงานที่เราภูมิใจ .. - HIGHLIGHT [EFM พุธทอล์ค พุธโทร] 11 ก.ย. 62 [วีดิโอ]. สืบค้น 24 มกราคม 2563, จาก https://youtu.be/hYBXbUXyflU
ATIME. (2562, 18 กรกฎาคม). ผู้หญิงคนนั้นเขาอยากยืนตรงที่หนูยืน!!- HIGHLIGHT [พุธทอล์คพุธโทร] 17 ก.ค. 62 [วีดิโอ]. สืบค้น 24 มกราคม 2563, จาก https://youtu.be/h8zCHjaYdvk
ATIME. (2562, 22 มกราคม). คดีพลิก!! เผลอไปมีใจให้สามีของชู้ ควรมั้ย??- HIGHLIGHT [พุธทอล์คพุธโทร] 20 ม.ค. 62 [วีดิโอ]. สืบค้น 24 มกราคม 2563, จาก https://youtu.be/d1sbitXHdRc
ATIME. (2562, 3 กรกฎาคม). แอบมีชู้ ทั้งๆที่คบและมีลูกกับแฟนมานาน 8 ปี - HIGHLIGHT พุธทอล์คพุธโทร 26 มิ ย 62 [วีดิโอ]. สืบค้น 24 มกราคม 2563, จาก https://youtu.be/Css3I2H3e8k
ATIME. (2562, 3 กันยายน). คบกับแฟนมา 15 ปี พึ่งมารู้ว่าภรรยาคบซ้อน - HIGHLIGHT [EFM พุธทอล์ค พุธโทร] 28 ส.ค. 62 [วีดิโอ]. สืบค้น 24 มกราคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=jD7dp261cPc
Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. London: Longman.
Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors We Live By. Chicago: The University of Chicago Press.
Van Dijk, T. A. (2008). Discourse and Power. New York: Palgrave Macmillan.