การพัฒนารูปแบบการอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดกิจกรรมออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

พรนภัส ทับทิมอ่อน
พีรพัฒน์ ยางกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพประสิทธิผลรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดกิจกรรมออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โดยได้พัฒนารูปแบบตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแนวความคิดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยกำหนดรูปแบบการทดลอง คือ กลุ่มทดลองทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบรูปแบบการสอน ได้แก่ แบบสอบถามกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษา และเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ได้แก่ แบบฝึกหัด บทอ่าน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบหลังการเรียนด้วยรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดกิจกรรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “PTFT Model” ซึ่งมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.04/80.07 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวัดจากแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษหลังใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก และผลการใช้รูปแบบการสอนทำให้นักศึกษามีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

ณัฏฐิณี ทินวงษ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนเศรษฐ ชะวางกลาง และ สุขสรรพ์ ศุภเศรษฐเสรี. (2562). การใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านแบบร่วมมือกันในรายวิชาการอ่านเพื่อความเข้าใจ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(1), 111-125.

ธนดล ดำคำ และ อภิราดี จันทร์แสง. (2561). การเรียนรู้แบบกำกับตนเองด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับเว็บเควสท์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(2), 367-384.

เพ็ญนภา ศรีษะเสือ. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรรมออนไลน์ เรื่อง การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2557). รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเทคนิคโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเขาใจและความคิดสร้างสรรค์สําหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัชนีวรรณ ประยงค์กุล. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านด้วยการเรียนแบบร่วมมือของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563 จาก https://research.pcru.ac.th/rdb/project/dataview/811.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2560 จาก http://noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf.

วิสาข์ จัติวัตร์. (2543). การอ่านภาษาอังกฤษ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรพงษ์ หวันสมาน (2558). ผลของการใช้เฟซบุ๊กเป็นสื่อกลางในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะทางให้กับผู้เรียนที่มีความสามารถทางภาษาในระดับพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ, ธารณา สุวรรณเจริญ, และชลชลิตา แตงนารา.(2560). ผลการใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4 (น. 562-570). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อารีย์ ปรีดีกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ ตามหลักการสอนภาษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2547). การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้การอ่านสำหรับนิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bednar et al. (1995). Theory in practice: How do we link? In G. Anglin (Ed.), Instructional technology: Past, present, and future (2nd ed), pp.100–112.

Branden. (2006). Task-Based Language Education from Theory to Practice. Cambridge: Cambridge University Press.

Chomchaiya, C. (2014). An investigation into the development of English language reading Comprehension among Thai undergraduate students using an online blended learning approach. Doctor of Philosophy, Curtin University, Singapore.

Joyce, B. and Weil, M. (2000). Model of teaching. London: Prentice-Hall.

McMahon, W. (2013). The Flipped Classroom 101. Retrieved on August 25, 2020 from http://www.downloads01.smartech.com/media/sitecore/en/pdf/smart_publication/edcompass.pdf.

Mokhtari, K., & Sheorey, R. (2002). Measuring ESL students reading strategies. Journal of Developmental Education, 25(3), 2-10.

Nunan, D. (1989). Designing Tasks for the Communicative Classroom. Cambridge Language Teaching Library, Cambridge: Cambridge University Press.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Vaughn et al. (2011). Efficacy of collaborative strategic reading with middle school students. American Educational Research Journal, 48(4), 938-964.

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Harlow: Pearson Longman.