ความหมายและค่านิยมของคำรื่นหูในภาษาเขมร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภททางความหมายของคำรื่นหูและศึกษาค่านิยมของชาวเขมรที่สะท้อนจากการใช้คำรื่นหู ข้อมูลคำรื่นหูได้มาจาก 3 แหล่ง เช่น พจนานุกรมภาษาเขมร เว็บไซต์ที่ใช้วัจนลีลาเป็นภาษาเขียน และนวนิยาย โดยใช้แนวคิดอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์พบว่าความหมายตรงของคำรื่นหูจะเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะในร่างกายมากที่สุด รองลงมาเป็นเรื่องความผิดปกติทางรูปลักษณ์ สภาพจิตและสติปัญญา สัตว์ ของเสียและการขับถ่าย กิจกรรมทางเพศ โรคภัยไข้เจ็บ อาชีพ และชาติพันธุ์ ตามลำดับ ส่วนความหมายอุปลักษณ์มีการใช้อุปลักษณ์เกี่ยวกับความตายมากที่สุด รองลงมาเป็นอุปลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ การกระทำ/กิจกรรม สงคราม ความสุขและความทุกข์ สิ่งของ เครือญาติ อาหาร และการปฏิบัติทางวัฒนธรรม ตามลำดับ นอกจากนี้การใช้คำรื่นหูยังสะท้อนให้เห็นค่านิยมของชาวเขมร 4 ประการ ได้แก่ ค่านิยมเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยมเกี่ยวกับบุคคล ค่านิยมเกี่ยวกับสังคม และค่านิยมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
แก้วใจ จันทร์เจริญ. (2533). คำรื่นหูในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ อ.ม., จุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
จารุวรรณ พุ่มพฤกษ์. (2538). คำต้องห้ามในร้อยกรองของอังคาร กัลยาพงศ์. ศาสตร์แห่งภาษา, 7(1), 1-24.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2558). ระบบความหมาย. ใน ดียู ศรีนราวัฒน์ และชลธิชา บำรุงรักษ์ (บรรณาธิการ), ภาษาและภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 186-187). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปราณี กุลละวณิชย์. (2527). ว่าด้วยคำว่า "ตาย". ศาสตร์แห่งภาษา, 4(1), 36-41.
ราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ และอัญชลี สิงห์น้อย. (2552). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์คำเรียกรสของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาในแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุริยา รัตนกุล. (2544). อรรถศาสตร์เบื้องต้น. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรทัย ชินอัครพงศ์. (2557). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคำด่าในภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 57-76.
Allan, K. & Burridge, K. (2006). Forbidden Words: Taboo and the censoring of language. New York: Cambridge University Press. [in English]
Buddhist Institute. (1967). Khmer dictionary. Phnom Penh: Buddhist Institute. [in Khmer]
Filippi, J. M. & Hiep, C. V. (2016). Khmer pronouncing dictionary: Standard Khmer and Phnom Penh dialect. Phnom Penh: KAM Editions. [in Khmer]
Khin, S. (2007). Khmer grammar. Phnom Penh: Royal Academy of Cambodia. [in Khmer]
Sam, E. (2012). Taboo words in Khmer society. Master's thesis, Royal University of Phnom Penh, Phnom Penh. [in Khmer]