ความพร้อมด้านภาษาจีนของท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับ MICE CITY : การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมไมซ์ (Meetings, Incentive, Conventions and Exhibitions - MICE) เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ความพร้อมด้านภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการก้าวเข้าสู่การเป็นไมซ์ซิตี้ (MICE CITY) ปัจจุบันภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีบทบาทมากในสังคมโลก บทความวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการใช้ภาษาจีนในป้ายต่าง ๆ ของท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงขีด
ความพร้อมด้านภาษาจีน (3) เพื่อหาแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านภาษาจีนสู่ไมซ์ซิตี้ (MICE CITY) ในระดับชาติ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ป้ายภาษาจีนที่พบในท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน (2) บุคลากรในท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานียังมีความพร้อมด้านภาษาจีนไม่ เพียงพอในการรองรับการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีนในปัจจุบัน (3) การวางแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านภาษาจีนสู่ไมซ์ซิตี้ (MICE CITY) ในระดับชาติ ต้องดำเนินการโดยภาครัฐให้เกิดความเป็นเอกภาพและขยายขอบเขตสู่งานบริการด้านอื่น ๆ
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว. 9 กันยายน 2561 จาก http://www.mots.go.th/more_news.php?cid=414&filename=index.
กฤตพล วังภุสิต. (2555). ชื่อธุรกิจการค้าในย่านสยามสแควร์: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชวง จันทร์เขตต์. (2528). การแปลเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ทรงพร ทาเจริญศักดิ์. (2552). นโยบายภาษาและความมั่นคงแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สแควร์ปริ๊นซ์.
ธุรกิจไมซ์ ปี 61. (2561). ธุรกิจไมซ์ ปี 61 คึกคัก บิ๊กอีเวนท์จ่อพาเหรดเข้าไทยเพียบ. 10 ตุลาคม 2561 จาก http://www.thansettakij.com/content/274579.
วิชุตา มาชูและคณะ. (2561). ศักยภาพและความพร้อมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ในการพัฒนาเป็น MICE Destination (สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และพัทลุง). 5 ตุลาคม 2561 จาก http://micest.in.th/the-study-of-efficiency-and-preparedness-of-east-coast-southern-sub-region.
สาลินี ทิพย์เพ็งและคณะ. (2561). การสร้างความได้เปรียบทางการแข็งขันของจังหวัดสงขลาด้านอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE). วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13(2). 191-206.
สํานักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2561). แผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมไมซ์ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2561 - 2564. สืบค้นจาก http://www.chiangmai.go.th/managing/public/D2/2D08May2018105403.pdf.
Coulmas, Florian. (2009). Linguistic Landscaping and the Seed of the Public Sphere. In Shohamy, Elana & Gorter Durk (eds.), Linguistic Landscape: Expanding the Scenery. New York: Routledge, 13-24.
Huebner, Thom. (2009). A Framework for the Linguistic Analysis of Linguistic Landscapes. In Shohamy, Elana & Gorter Durk (eds.), Linguistic Landscape: Expanding the Scenery. New York: Routledge, 70-87.
金怡.语言景观理论框架研究[J].皖西学院学报,2017. (33)
刘楚群.语言景观之城市映像研究[J].语言战略研究,2017. (18)
中华人民共和国中央人民政府.中华人民共和国国家通用语言文字法[EB/OL], From http://www.gov.cn/ziliao/flfg/2005-08/31/content_27920.htm