การศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อของผู้เรียนและผู้สอนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย ที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น

Main Article Content

อัจฉรา อึ้งตระกูล

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อของผู้เรียนและผู้สอนที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยอ้างอิงจากแบบสอบถามความเชื่อในการเรียนภาษาที่สอง (BALLI) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้เรียนวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น จำนวน 183 คน และผู้สอนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย จำนวน 9 คน ในระดับมหาวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)


          ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเชื่อด้านความถนัด และ 2) ความเชื่อด้านความยากที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น ผู้เรียนและผู้สอนมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง  3) ความเชื่อด้านธรรมชาติและ 4) ความเชื่อด้านกลยุทธ์ในการเรียนการอ่านและการสื่อสาร ผู้เรียนและผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  5) ด้านแรงจูงใจและความคาดหวังในการอ่านภาษาญี่ปุ่น ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบ ความเชื่อของผู้เรียนและผู้สอนที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่นแต่ละด้านพบว่า ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

อัจฉรา อึ้งตระกูล

อัจฉรา อึ้งตระกูล

ศศ.ด. (ภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

References

เตวิช เสวตไอยาราม. (2559). กลยุทธ์การอ่านของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่มีความสามารถต่างกัน. วารสารญี่ปุนศึกษา. 33(2). 59-78.

ปภังกร กิจทวี, ทรงศรี สรณสถาพร, กรัณศุภมาศ เอ่งฉ้วน และ ธนายุส ธนนิติ. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษา ระดับความวิตกกังวล และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิมพิศา เต่ารั้ง. (2558). ผลของการเรียนแบบนำตนเองที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อมรรัตน์ มะโนบาล และ เตวิช เสวตไอยาราม. (2560). การศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับต้นที่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกัน. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา. 7(1). 33-50.

อัจฉรา อึ้งตระกูล. (2561). การศึกษาความเชื่อของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีต่อการอ่านภาษาญี่ปุ่น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา (ฉบับพิเศษ). (8)3. 22-44

Ainley, M., Hidi, S. and Berndorff, D. (2002). Interest, learning, and the psychological processes that mediate their relationship. Journal of Educational Psychology, 94(3), 545-561.

Brown, H. D. (1980). Principles of Language and Teaching. Englewood Cliffs : Practice , 1980.

Cotterall, S. (1995). Readiness for Autonomy: Investigating Learner Beliefs. System, 23(2), 195-205.

Guthrie, J. T., Hoa, L. W., Wigfield, A., Tonks, S. M., Humenick, N. M., and Littles, E. (2007). Reading motivation and reading comprehension growth in the later elementary years. Contemporary Educational Psychology, 32, 282–313.

Horwitz, E.K. (1985). Using student beliefs about language learning and teaching in the foreign language methods course. Foreign Language Annals, 18(4), 333-340.

Horwitz, E. K. (1987). Surveying student beliefs about language learning. In A. Wenden & R. Rubin (Eds.), Learner strategies in language learning. (pp. 119–129). London: Prentice Hall International.

Horwitz, E. K. (1988). The beliefs about language learning of beginning university foreign language students. Modern Language Journal, 72(3), 283- 294.

Seelye, N. (1993), Teaching Culture : Strategies for Intercultural Communication. 3rd ed. Lincoln Wood, IL : National Textbook.

Shavelson, J. R. and Stern, P. (1981). Research on teachers’ pedagogical thoughts, judgments, decisions and behavior. Review of Education Research, 51, 455-498.

Stokmans, M. J. W. (1999). Reading attitude and its effect on leisure time reading. Poetics, 26, 245-261.

Wigfield, A. and Guthrie, T. J. (1997). Relation of Children’s Motivation for Reading to the Amount and Breadth of their Reading. Journal of Educational Phycology, 89(3), 420-439.

石橋玲子. (2009).「日本語学習者の作文産出に対するビリーフとストラテジーの特性-タイの大学生の場合-」『国際交流基金バンコク日本文化センター日本語教育紀要』6号 国際交流基金

サグアンシー・タンヤーラット. (2016).「外国語としての日本語における読解不安・外国語学習不安・読解力との関係―タイ人大学生を対象に―」『神田外語大学大学院紀要 言語科学研究』第22号【研究論文】, 45-64