การแปรทางกลสัทศาสตร์ของเสียง (kh) ในภาษาพวนหมู่บ้านฝายมูล ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

Main Article Content

ฤทัยรัตน์ คุณธนะ
ภาวดี สายสุวรรณ
ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรของค่าทางกลสัทศาสตร์ของเสียง (kh) ในภาษาพวนหมู่บ้านฝายมูล ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในผู้พูด 3 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุที่ 1 อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป รุ่นอายุที่ 2 อายุระหว่าง 35-50 ปี และรุ่นอายุที่ 3 อายุระหว่าง 10-25 ปี โดยศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงพยัญชนะด้วยการวิเคราะห์ค่าความเข้มสัมพัทธ์จากการคำนวณอัตราส่วนค่าความเข้ม  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เสียง (kh) ของผู้พูดในรุ่นอายุมากมีอัตราส่วนค่าความเข้มต่ำสุด ซึ่งแสดงว่าเป็นรูปแปรที่มีระดับของการเสียดแทรกต่ำ ตามมาด้วยผู้พูดวัยกลางคนและผู้พูดในรุ่นอายุน้อยที่พบรูปแปรที่มีระดับของการเสียดแทรกสูง อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนค่าความเข้มของทั้งสามกลุ่มก็ไม่ได้แบ่งเป็นรูปแบบที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เพราะผู้พูดทั้งสามกลุ่มมีอัตราส่วนค่าความเข้มต่ำสุดบางส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้พูดทั้งสามกลุ่มเลือกใช้รูปแปรที่เหมือนกันในบางส่วน นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการแปรภายในกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พูดในรุ่นอายุมากที่มีการแปรภายในกลุ่มมากที่สุด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างที่เกิดจากปัจจัยทางสังคมที่นอกเหนือจากปัจจัยด้านอายุเพียงตัวเดียวเท่านั้น

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

ฤทัยรัตน์ คุณธนะ

นางสาวฤทัยรัตน์ คุณธนะ

นิสิตปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

E-Mail:  ruthaitana@gmail.com

ภาวดี สายสุวรรณ

ดร.ภาวดี สายสุวรรณ

Ph.D. (Linguistics) Queen Mary University of London, United Kingdom

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

E-Mail:  pavadee.s@chula.ac.th

ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

อ.ด. (ภาษาศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

E-Mail:  sujinat.j@gmail.com

References

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). การแปรและการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์นำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศิริชัย หอมดวง และศุภกิต บัวขาว. (2559). การแปรของเสียงพยัญชนะในภาษาไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5. 122-137.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ และกันทิมา วัฒนะประเสริฐ (2539). รายงานการวิจัยเรื่อง วิเคราะห์การใช้คำและการแปรของภาษาของคนสามระดับอายุในชุมชนภาษาลาวลุ่มน้ำท่าจีน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทัยวรรณ ตันหยง. (2526). วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้คําของคนสามระดับอายุในภาษาลาวพวน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Browman, C., & Goldstein, L. (1995). Dynamics and articulatory phonology: an overview. Phonetica, 49, 155-180.

Carrasco, P., Hualde, J. I., & Simonet, M. (2012). Dialectal differences in Spanish voiced obstruent allophony: Costa Rican versus Iberian Spanish. Phonetica, 69(3), 149-179.

Cho, T., & McQueen, J. M. (2005). Prosodic influences on consonant production in Dutch: effects of prosodic boundaries, phrasal accent and lexical stress. Journal of Phonetics, 33, 121-157.

Labov, W. (1963). The social motivation of a sound change. Word, 19(3), 273-309.

Labov, W. (2006). A sociolinguistic perspective on sociophonetic research. Journal of Phonetics, 34(4), 500-515.

Martínez Celdrán, E., & Regueira, X. L. (2008). Spirant approximants in Galician. Journal of the International Phonetic Association, 38, 51–68.

McCarthy, O., & Stuart-Smith, J. (2013). Ejectives in Scottish English: A social perspective. Journal of the International Phonetic Association, 43, 273-298.

Parrell, B. (2010). Articulation from acoustics: estimating constriction degree from the acoustic signal. The Journal of the Acoustical Society of America, 128, 2289.