วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ประเภทกลองก้นยาว กลองมองเซิง และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมืองเชียงตุง)

Main Article Content

ขำคม พรประสิทธิ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประสมวง กลวิธีการบรรเลงและรูปแบบทำนอง สัมภาษณ์บุคคลข้อมูล 26 คน ใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี ผลการวิจัยพบว่า กลองก้นยาว  มีการประสมวงกับฉาบขนาดกลางและโหม่งที่มีจำนวนเป็นคู่คือ 6 ใบเป็นส่วนใหญ่ แตกต่างจากพื้นที่อื่นที่ใช้จำนวนคี่  นิยมใช้ตีประกอบการฟ้อนนก ฟ้อนโต ก๋าปั่นกลองและตีในขบวนแห่ ทำนองกลองมีลักษณะการทอนจังหวะลง การตีรวบเสียงธรรมดาและการตีรวบเน้นจังหวะ  กลองมองเซิง ประสมวงกับฉาบขนาดใหญ่ โหม่งมีจำนวน 3 – 9 ใบ  นิยมตีโดยกลุ่มแม่บ้านในขบวนแห่ การตีจะมีจังหวะช้า เนิบนาบ ตอยอฮอร์น เทียบเสียงมีทั้งห่างกัน 4 เสียงและ 5 เสียง การประสมวงรูปแบบแรกจะผสมกับเครื่องดนตรีชาติพันธุ์อื่น  บทเพลงมีขนาดสั้น ใช้กลุ่มเสียงปรากฏ 4 กลุ่ม ทำนองเพลงจะบังคับทาง  วิธีการดำเนินทำนองพบทั้งการซ้ำทำนอง กลุ่มย่อย การซ้ำเสียง การขึ้นต้นทำนองมักมีการซ้ำทำนองวรรคแรก  รูปแบบที่สองจะนำไปสีกับการร้องในวงจ้าดไต ใช้เสียงอยู่ในช่วง 12 เสียง สีทำนองห่าง ๆ อิสระ จังหวะลอย กลวิธีการสีตอยอฮอร์นพบ 5 แบบคือ การสีเสียงตรง การสีขย่มสาย การสีสะบัด การสีรูดนิ้ว และการสีรวบเสียงแบบเร็ว

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

ขำคม พรประสิทธิ์

รองศาสตราจารย์ ดร.ขำคม พรประสิทธิ์

Ph.D. (Literature), Osaka City University, Japan

อาจารย์ประจำสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

E-Mail:  [email protected]

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2559ก). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 7(1). 91-142.

ขำคม พรประสิทธิ์. (2559ข). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 23(2). 35-57.

ทุน. (2560). ศิลปินเมืองเชียงตุง สัมภาษณ์ 9 พฤษภาคม 2560.

พระตันต๊ะกำภีระ. (2560). เจ้าอาวาสวัดอิน เมืองเชียงตุง สัมภาษณ์ 29 เมษายน 2560.

พลโทเจ้ายอดศึก นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว และนวลแก้ว บูรพวัฒน์. (2550). ก่อนตะวันฉาย “ฉาน”. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ Openbooks.

ภัทระ คมขำ. (2560). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ ประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่าในเมืองจ๊อกแม รัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 7(2). 45-70.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2560). รัฐฉาน (เมืองไต) พลวัตชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และสังคมการเมืองร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ยอดคำ. (2560). ศิลปินเมืองเชียงตุง สัมภาษณ์ 6 พฤษภาคม 2560.

วสุวัต. (2558). จากเจ้าพระยา สู่สาละวิน เชียงตุงในกระแสธารแห่งกาลเวลา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด.

หนานออ. (2560). ศิลปินเมืองเชียงตุง สัมภาษณ์ 5 พฤษภาคม 2560.