ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

อมรรัตน์ ทับทิมทอง
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะด้านทักษะ 6 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการชั้นเรียน 2) ด้านการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ 3) ด้านการพัฒนาตนเอง 4) ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 5) ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6) ด้านการวัดและประเมินผล โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 136 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ของครูภาษาอังกฤษในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่องความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูวิชาภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และค่าการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะภาษาอังกฤษ จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูวิชาภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า


1. การสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด ได้แก่ ด้านการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ


2. การวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 พบว่า มีทั้งหมด 20 แนวทาง แบ่งออกเป็น ด้านการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ 7 แนวทาง ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการชั้นเรียน 7 แนวทาง และด้านการวัดและประเมินผล 6 แนวทาง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ จันเลือน. (2557). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

นพ วิจิตรโยธาการ. (2556). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อสมรรถนะครู โรงเรียนป่าเด็งวิทยา อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นันทิยา ดวงภุมเมศ. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 35(2), 77-96.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประคอง ยุคะลัง. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการพูดภาษาอังกฤษของครูผู้สอนที่มีวุฒิไม่ตรงสาขา โรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(พิเศษ), 45-55.

ประมาณ อุ่นพิมาย. (2561). ปัญหาในการสอนภาษาอังกฤษและความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพของครูชาวไทยผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปิยาภรณ์ อัครลาวัณย์. (2562). การศึกษาความต้องการและแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรพิมล ประสงค์พร. (2557). การเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(3), 81-88.

เยาวลักษณ์ มูลสระคู. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. (2561). ประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 เรื่อง รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562, จาก http://secondary39.go.th/plan62/04Report39_2561.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562, จาก http://secondary39.go.th/plan62/01plan39_62-65.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562, จาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/ 20160908101755_51855.pdf.

สุวิมล ว่องวาณิช, (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัททวีพริ้นท์.

aseantourist. (2014). ข้อดี-ข้อเสียของการเปิดอาเซียน. Retrieved on July 7, 2020, from https://aseantourist.wordpress.com/

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (3rd ed.) New York: Harper & Row.

Education First. (2018). EF English Proficiency Index. Retrieved on October 22, 2019, from https://www.ef.co.th/epi/regions/asia/thailand/

Ethnologue Languages of the World. (2019). What is the most spoken language?. Retrieved on October 22, 2019, from https://www.ethnologue.com/guides/most-spoken-languages.

Krejcie, & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 13(3), 607-610.