อุดมการณ์ทางสังคมในกวีนิพนธ์ไทยที่ได้รับรางวัล ระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ รูปแบบ และอุดมการณ์ทางสังคมที่ปรากฏใน กวีนิพนธ์ไทยที่ได้รับรางวัล ในระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2560 จาก 3 สถาบัน ได้แก่ รางวัลซีไรต์ รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด และและรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด จำนวน 16 เล่ม
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของกวีนิพนธ์มีรูปแบบฉันทลักษณ์คงเดิม โดยพบมากที่สุดในรูปแบบของกลอนแปด มีการเล่นสัมผัสพยัญชนะและสระ มีการใช้ภาพพจน์ สัญลักษณ์ ผ่านการนำเสนอของผู้แต่งที่บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมด โดยมีแนวคิดหลัก คือความต้องการกลับคืนสู่บ้าน ครอบครัว หรือบ้านเกิดของตนเอง อีกทั้งผู้แต่งยังได้มีการแสดงถึงอุดมการณ์ทางสังคม ใน 6 ลักษณะโดยพบมากที่สุด คือ อุดมการณ์ด้านทุนนิยม อุดมการณ์ด้านไสยศาสตร์ อุดมการณ์ด้านการใช้ความรุนแรง อุดมการณ์ด้านชาตินิยม อุดมาการณ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพศ และอุดมการณ์ด้านศักดินา ตามลำดับ
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2533). มิติด้านอุดมการณ์ ในละครโทรทัศน์ไทย. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กำชัย ทองหล่อ. (2545). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น(1997).
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2548). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: บูรพา.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2530). ผจงถ้อยร้อยเรียง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐธิดา ศิริชัยยงบุญ. (2559). เมืองในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย . กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุวเทพฯ: นาคร.
นภัทร อารีศิริ. (2554). การวิเคราะห์อุดมการณ์ทางสังคมที่ปรากฎในละครโทรทัศน์ไทยที่นำมาผลิตซ้ำ. เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บัณฑิต ทิพย์เดช. (2561). อุดมการณ์ทางการเมืองในกวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์. Veridian E-Journal, Silpakorn University , 2500-2514.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). แลลอดวรรณกรรมไทน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณและเจตนา นาควัชระ. (2520). วรรณคดีวิจารณ์และวรรณคดีศึกษา. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
พิมพร สุนทรวิริยกุล. (2551). การวิเคราะห์ภาพพจน์ในกวีนิพนธ์รางวัลดีเด่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2547-2551. พิษณุโลก: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย.
วันเนาว์ ยูเด็น. (2532). การศึกษาเรื่องกลอน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: บริษัทเอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดัคส์จำกัด.
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล : ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.