ภาพแทนหญิงชาวไทยภูเขาในวรรณกรรมไทยร่วมสมัยปี พ.ศ. 2498-2559
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนหญิงชาวไทยภูเขาในวรรณกรรมไทยร่วมสมัยปี พ.ศ. 2498-2559 ผลการวิจัยพบว่านักเขียนสร้างภาพแทนหญิงชาวไทยภูเขา 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเป็นวัตถุทางเพศ นำเสนอให้หญิงชาวไทยภูเขาตกเป็นที่รองรับกามารมณ์ของผู้ชายภายใต้โครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ 2) ความเป็นแม่บ้านแม่เรือน นำเสนอให้หญิงชาวไทยภูเขาอยู่ในบทบาทสถานภาพความเป็นเมียและความเป็นแม่ 3) การเป็นผู้มีสติปัญญา นำเสนอให้หญิงชาวไทยภูเขามีความรอบรู้ในเรื่องพืชสมุนไพร และ 4) การเป็นผู้ถูกใช้แรงงาน นำเสนอให้หญิงชาวไทยภูเขาอยู่ในสถานภาพผู้ถูกใช้แรงงานภายใต้ฐานคิดแบบชายเป็นใหญ่ การสร้างภาพแทนหญิงชาวไทยภูเขาในวรรณกรรมไทยร่วมสมัยเป็นการสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่ทัดเทียมกันระหว่างเพศ ทำให้หญิงชาวไทยภูเขามีสถานะที่ด้อยกว่าผู้ชายทั้งในด้านสังคม การเมือง และวัฒนธรรม
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2555). เล่าเรื่องเบื้องต้น สตรีศึกษา สตรีนิยม. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์.
เฉลิมศักดิ์ แหงมงาม. (2539). อ้อมอกภูเขา. กรุงเทพฯ: เอส พี เอฟพริ้นท์ติ้ง กรุ๊ป.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2555). มนต์เสน่ห์แห่งชนเผ่า ศิลปวัฒนธรรมในอ้อมกอดแห่งขุนเขา. กรุงเทพฯ: แปลน สารา.
ดอกฝิ่น. (2532). บันทึกของคุตา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ทมยันตี. (2548). แก้วกลางดง. กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม.
มาลา คำจันทร์. (2551). วิถีคนกล้า. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
เสนาะ เจริญพร. (2546). ภาพเสนอผู้หญิงในวรรณกรรมไทยช่วงทศวรรษ 2530: วิเคราะห์ความโยงใยกับประเด็นทางสังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.