ความหมายเชิงมโนทัศน์ของคำว่า “โกง” ในภาษาไทย: การวิเคราะห์ตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหมวดหมู่ถ้อยคำที่มีความสัมพันธ์ทางความหมายกับคำว่า “โกง” ซึ่งถ้อยคำดังกล่าวรวบรวมจาก พจนานุกรม หนังสือพิมพ์ และฐานข้อมูลคลังภาษาไทยแห่งชาติฯ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์เชิงครอบครัว[1]ด้วยคุณสมบัติทางความหมายที่เป็นต้นแบบของคำว่า “โกง” ทั้งนี้งานวิจัยนี้ได้เสนอ องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความหมายเชิงมโนทัศน์และขอบเขตทางความหมายของคำว่า “โกง” พร้อมทั้งสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการโกงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจากการใช้หมวดหมู่ทางความหมายของคำว่า “โกง” ผลการวิจัยพบคุณสมบัติทางความหมายที่เป็นต้นแบบ จำนวน 6 คุณสมบัติ ซึ่งประกอบด้วย [เจตนา] [ร้าย] [ไม่ตรง] [ข้อตกลง] [ผลประโยชน์] และ [อุบาย] และพบถ้อยคำที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ทางความหมายเดียวกับคำ “โกง” จำนวน 522 ถ้อยคำ โดยจำแนกได้เป็น 36 หมวดหมู่ อาทิ >ทุจริต< >โกง< >ลวง< >ปลอม< >เอาเปรียบ< เป็นต้น
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน