หน้าที่ในการสื่อสารและวากยสัมพันธ์ของประโยคแปรในภาษาไทย กรณีหน่วยสร้างประโยคหัวเรื่องเด่น

Main Article Content

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์หน้าที่ในการสื่อสารและลักษณะวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างประโยคแปรกลุ่มประโยคหัวเรื่องเด่นในภาษาไทยในสัมพันธสารเรื่องเล่า บนพื้นฐานทฤษฎีหน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา ข้อมูลเก็บรวบรวมจากภาษาเขียนที่เป็นสัมพันธสารเรื่องเล่าจำนวน 200 เรื่อง ผลการวิจัยพบประโยคหัวเรื่องเด่น 5 ชนิด ได้แก่ 1) ประโยคย้ายส่วนไปหน้า ใช้แสดงหัวเรื่องเป็นครั้งแรกและคงหัวเรื่องในเนื้อหา มีวากยสัมพันธ์เป็นการย้ายส่วนหัวเรื่องเด่นไปหน้าประโยค 2) ประโยคหัวเรื่อง-เนื้อความ ใช้แสดงหัวเรื่องเป็นครั้งแรก คงหัวเรื่องในเนื้อหา และขมวดเรื่องในตอนท้าย มีวากยสัมพันธ์เป็นการตั้งส่วนหัวเรื่องเด่นที่สัมพันธ์กับส่วนเนื้อความไว้หน้าประโยค 3) ประโยคคลาดส่วนไปซ้าย ใช้แสดงหัวเรื่องที่ชี้เฉพาะและอ้างตาม มีวากยสัมพันธ์เป็นการใช้สรรพนามแทนส่วนที่คลาด 4) ประโยคคลาดส่วนไปขวา ใช้แสดงหัวเรื่องเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้ฟัง มีวากยสัมพันธ์เป็นการใช้สรรพนามหรืออรูปอ้างตาม และ 5) ประโยคปรากฏส่วน ใช้แนะนำข้อมูลใหม่ที่สำคัญและทำข้อมูลเก่าให้เป็นเสมือนข้อมูลใหม่ มีวากยสัมพันธ์สำคัญคือแสดงกริยาปรากฏ ลำดับที่สลับกันของประธาน-กริยา และการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของกริยาปรากฏ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา

Ph.D. (Linguistics), University of Oregon, USA

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]