หลักการบรรเลงซอสามสายตามแนวทางของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน

Main Article Content

ประชากร ศรีสาคร
อมรินทร์  หมอกอ่อน

บทคัดย่อ

            บทความนี้เป็นการนำเสนอองค์ความรู้เรื่องหลักการบรรเลงซอสามสายตามแนวทางของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน โดยการรวบรวมจากรายงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนในระดับปริญญาบัณฑิต และมหาบัณฑิต พร้อมทั้งสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากลูกศิษย์ผู้ได้รับการสืบทอดซอสามสายโดยตรงจากอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน จำนวน 5 ท่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการบรรเลงซอสามสายคามแนวทางของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ในบริบทของระเบียบวิธีการบรรเลงว่าด้วยเรื่อง ท่านั่ง ท่าจับซอสามสาย การใช้คันชัก การใช้นิ้ว รวมถึงหลักการดำเนินทำนองสำหรับการบรรเลงรวมวง และการบรรเลงคลอร้อง


           อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ถือเป็นเอตทัคคะด้านซอสามสายที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับการสืบทอดวิชาซอสามสายจากยรมครูทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ 1) ครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) 2) พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) 3) ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ได้ศึกษาวิชาซอสามสาย และได้นำความรู้มาคัดสรรเลือกใช้ชนิดที่เรียกว่า "รู้รับ ปรับใช้ ประสานประโยชน์" อย่างเหมาะสมกับตนเองจนเป็นรูปแบบของการบรรเลงซอสามสายที่ใช้ยึดถือปฏิบัติในสำนัก "เสนาะดุริยางค์" เรื่อยมา ในการสืบทอดนั้นอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน จะสืยทอดตามทักษะของผู้บรรเลงที่มีอยู่ แล้วตกแต่งลีลาท่วงทำนองด้วยเม็ดพรายต่างๆ อย่างประณีต โดยยึดหลักแห่งความกลมกลืนในสุนทรียะเป็นสำคัญ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

ประชากร ศรีสาคร

อาจารย์ประชากร  ศรีสาคร

ศศ.ม. (ดุริยางคศาสตร์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์พิเศษสอนวิชาเครื่องสายไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

อมรินทร์  หมอกอ่อน

อาจารย์อมรินทร์  หมอกอ่อน

ศศ.ม. (การจัดการทางวัฒนธรรม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

E-Mail:    [email protected]