บทวิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษ

Main Article Content

ศศิธร จันทโรทัย
ดุษฎี รุ่งรัตนกุล

บทคัดย่อ

            บทความนี้สรุปผลการวิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษในด้านรูปแบบการประพันธ์ เนื้อหา และหน้าที่ทางสังคม โดยรวบรวมเพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษที่นิยมร้องกันในประเทศผู้พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่คือ ประเทศสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จากการวิเคราะห์พบว่า เนื้อเพลงกล่อมเด็กภาษาอังกฤษมักอยู่ในรูปแบบกลอนสั้นๆ ใช้ภาษาธรรมดาง่ายๆ และมีผังเสียงสัมผัสและโครงสร้างที่ไม่ตายตัว อาจเพราะเพลงกล่อมเด็กมีต้นกำเนิดจากการเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะของชาวบ้าน แต่ก็มีบางเพลงที่ได้รับความนิยมที่มีผู้ประพันธ์เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะถูกนำไปร้อง ซึ่งจะมีเนื้อเพลงที่ยาวกว่าและมีโครงสร้างที่แน่นอนกว่า เนื้อหาและท่วงทำนองเพลงกล่อมเด็กโดยทั่วไปมักมีน้ำเสียงปลอบประโลมและมีบทบาทในกระบวนการสอนและขัดเกลาเด็กให้กลมกลืนกับสังคม แต่ก็มีบางบทเพลงที่มีเนื้อหาด้านที่ตรงกันข้าม เช่น บางเพลงมีนัยที่แสดงความไม่พอใจต่อสังคมหรือการเมือง บางเพลงมีนัยสื่อถึงอันตราย ความสับสนไร้ระเบียบในสายตาของผู้อพยพชาวผิวขาวเมื่อได้ประสบพบเจอวิถีปฏิบัติของชนพื้นเมือง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

ศศิธร จันทโรทัย

ดร.ศศิธร  จันทโรทัย

Ph.D. English (Literature and Criticism) Indiana University of Pennsylvania, USA

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

ดุษฎี รุ่งรัตนกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี  รุ่งรัตนกุล

Ph.D. (Curriculum and Instruction) Mississippi State University, USA

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:    [email protected]

References

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์