การวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ของพยัญชนะต้นเสียงเสียดแทรก และกักเสียดแทรกของเพศทางเลือกชาวไทย

Main Article Content

ปรภัทร คงศรี
สุกัญญา เรืองจรูญ

บทคัดย่อ

           เพศทางเลือกชาวไทยเป็นกลุ่มคนที่มีภาษาเฉพาะกลุ่มเบี่ยงเบนทางภาษาไทยมาตรฐานในด้านเสียง คำศัพท์ ไวยากรณ์ งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายวิเคราะห์การออกเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรกของเพศทางเลือกชาวไทยว่ามีการแปรจากเสียงในภาษาไทยมาตรฐาน ซึ่งยังมีงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ในเรื่องน้อยมาก การวิจัยวิเคราะห์ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ 2 ลักษณะ คือ ค่าระยะเวลาและค่าความถี่ที่จุดสูงสุด และมีสมมติฐานดังนี้ ค่าระยะเวลารูปแปรเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรกที่ออกเสียงโดยเพศทางเลือกชาวไทยแตกต่างจากชาวไทยและชาวอเมริกันเพศชาย ค่าระยะเวลารูปแปรเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรกที่ออกเสียงโดยเพศทางเลือกชาวไทยใกล้เคียงกับชาวไทยเพศหญิงและชาวอเมริกันเพศหญิง ค่าความถี่ที่จุดสูงสุดรูปแปรเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรกที่ออกเสียงโดยเพศทางเลือกชาวไทยแตกต่างจากชาวไทยและชาวอเมริกันเพศชาย และค่าความถีที่จุดสูงสุดรูปแปรเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรกที่ออกเสียงโดยเพศทางเลือกชาวไทยใกล้เคียงกับชาวไทยเพศหญิงและชาวอเมริกันเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้มีทั้งหมด 9 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มเพศทางเลือกชาวไทย จำนวน 5 คน ชาวไทยเพศชายและเพศหญิง จำนวน 2 คน ชาวอเมริกันเพศชายและเพศหญิง จำนวน 2 คน โดยเก็บข้อมูลจากการอ่านชุดประโยคทดสอบภาษาไทยแบ่งเป็น  2 ชุด 1) ชุดคำทั่วไป 2) ชุดคำสแลง โดยมีพยัญชนะต้นเป็นเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรก 4 เสียงของภาษาไทย ได้แก่ /f, s, ʨ, ʨh/ และเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรก 8 เสียงของภาษาอังกฤษ ได้แก่ /f, v, s, z, ʃ, ʒ, ʤ, ʧ/ บันทึกเสียงและวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมพราท  ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าระยะเวลาของพยัญชนะต้นเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรกที่ปรากฏต้นคำสแลงของชาวไทยมากกว่าพยัญชนะที่ปรากฏต้นคำทั่วไป ค่าเฉลี่ยระยะเวลาของรูปแปรเสียงเสียดแทรกและกักเสียดแทรกของเพศทางเลือกชาวไทยใกล้เคียงกับของชาวไทยเพศหญิง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยความถี่ที่จุดสูงสุดของรูปแปรเสียงของเพศทางเลือกชาวไทยใกล้เคียงกับเสียงของชาวอเมริกันเพศหญิงและชาวไทยเพศชาย

คำสำคัญ :


Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ