การศึกษา “นิราศวังหลัง” ในฐานะเรื่องเล่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่าเรื่อง และวิธีการนำเสนอเรื่องเล่าเกี่ยวกับวังหลัง ใน “นิราศวังหลัง” จำนวน 8 สำนวน ของกวีรัตนโกสินทร์จำนวน 5 คน การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องเล่า (Narratology)และวัจนลีลา (Stylistics) เพื่อวิเคราะห์ตัวบทนิราศ จากการศึกษา พบว่า ภาพแทน (representation) ของวังหลังที่ถ่ายทอดโดยผู้เล่าเรื่องหลากประเภทข้างต้นมีทั้ง ภาพของผู้อุปถัมภ์ภาพของนักรบ และ สัญลักษณ์แห่งไตรลักษณ์ แตกต่างกันไปตามความประสงค์และสถานภาพของผู้เล่า การเล่าเรื่องในตัวบทนิราศ แสดงให้เห็นว่า สถานภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่าเรื่อง(กวี) กับเรื่องที่เล่า(ตัวบทนิราศ) มีผลต่อการเลือกใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์ความรู้สึก 2 ประเภท ได้แก่ ถ้อยคำแสดงสภาพของวังหลัง และถ้อยคำแสดงความทุกข์โศกจากการเห็นสภาพวัง ส่งผลให้ความรับรู้เกี่ยวกับ “วังหลัง” อันเกิดจากการประกอบสร้างประวัติและความสำคัญ เป็นไปตามมุมมองของกวีที่เลือกนำเสนอภายในโครงสร้างของเรื่องเล่าประเภทนิราศ
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน