Errors in Korean Descriptive Compositions Written by Learners from a Different Language Family and the Directions of Teaching Improvement
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดในงานเขียนภาษาเกาหลีแบบพรรณนาของผู้เรียนชาวไทยซึ่งเป็นผู้เรียนจากภาษาต่างตระกูล สาเหตุของข้อผิดพลาดเหล่านั้นและแนวทางการพัฒนาการสอน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบทดสอบ แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนชาวไทยมีข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์มากที่สุดเป็นอันดับแรก (42.73%) ด้านคำศัพท์เป็นอันดับที่สอง (36.75%) และด้านอักขรวิธีเป็นอันดับสุดท้าย (20.52%) โดยมีสาเหตุหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปัญหาจากตัวผู้เรียน (88.9%) ความยากและซับซ้อนของภาษาเกาหลี (44.4%) อิทธิพลของภาษาแม่ (22.2%) และอื่นๆ ได้แก่ ข้อจำกัดเรื่องเวลา (11.1%) และวิธีการสอนที่พึงประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาเกาหลี ได้แก่ ผู้สอนควรเลือกวิธีการสอนที่ผสมผสาน หลากหลายวิธี และแตกต่างกันไปตามเนื้อหาและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน และไม่ควรเน้นเปรียบเทียบระหว่างภาษาเกาหลีกับภาษาไทยหรือภาษาอื่น
คำสำคัญ :ข้อผิดพลาด การเรียนการสอนภาษาเกาหลี ภาษาเกาหลีในฐานะภาษาต่างประเทศ การเขียนภาษาเกาหลีแบบพรรณนา
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน