การพัฒนารูปแบบการสื่อสารตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

สุมลมาลย์ อรรถวุฒิชัย
สุวัจนกานดา พูลเอียด
จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์ การออกแบบสื่อออนไลน์ และนำเสนอสื่อผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ด้วยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยว จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 385 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ นอกจากนี้ กำหนดผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 9 คน จากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว และ ผู้ประกอบสื่อมวลชน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การนำเสนอข้อมูลด้วยการถ่ายทอดสดผ่านการ Live เป็นการนำเสนอที่สนุกน่าติดตาม การใช้ภาพนิ่งช่วยดึงดูดความสนใจได้ดี การใช้คลิปวีดีโอทำให้ได้รับข้อมูลครบทั้งภาพและเสียง นอกจากนี้ การสร้างเรื่องราว (Content) มีความน่าสนใจในเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งนี้ การใช้สื่อออนไลน์ทำให้ได้รับข้อมูลเร็วขึ้น เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และ การสื่อสารออนไลน์มีสำคัญต่อการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว 2) การออกแบบสื่อสารการตลาดด้วยการทำคลิปวีดีโอนำเสนอเรื่องราวการท่องเที่ยวของอำเภอแม่สอด ความยาวประมาณ 3 นาที 46 วินาที ชื่อคลิป “11 จุดเช็คอิน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 3) เผยแพร่ ในช่องทางออนไลน์ 3 ช่องทาง คือ เฟสบุ๊ค-แฟนเพจ ยูทูป และสแกนคิวอาร์โค้ท
ทั้งนี้ ผลจากการเผยแพร่คลิปวีดีโอผ่านสื่อออนไลน์ พบว่า มีผู้ที่สนใจเข้ามาชมเนื้อหาดังกล่าว เป็นจำนวนมากถึง จากยอดการมีส่วนร่วมผ่านการเยี่ยมชม (ยอดวิว) ถูกใจ (ยอดไลน์) หัวใจ การแชร์ รวมถึง ข้อคิดเห็น (Comment) พบว่า การรับรู้ของนักท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางที่ดีเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
อรรถวุฒิชัย ส., พูลเอียด ส., & วงศ์ฤกษ์ดี จ. (2024). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(1), 243–262. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.15
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ. (2558). ประกาศ กนพ. ที่ 1/2558 เรื่อง กำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://data.opendevelopment mekong.net/th/laws_record/1-2558

จักกฤษณ์ กิตติทรัพย์เจริญ. (2560). ลักษณะของภาพถ่ายโฆษณาที่ส่งผลต่อทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อภาพถ่าย โฆษณาขายสินค้าบนอินสตาแกรม กรณีศึกษา: กระเป๋าแฟชั่นที่ไม่ใช่สินค้าแบรนด์เนม (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลิตา จังวิจิตรกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับชมการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฏฐ์วิกร หรรษาพันธุ์ และ จำเริญ คังคะศรี. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2),217-233.

ดวงใจ จิวะคุณานันท์. (2561). อิทธิพลของ Reviewer ในสื่อออนไลน์กับการตัดสินใจเลือกเดินทาง ท่องเที่ยวในจังหวัดที่เป็นจุดหมายไปทางไหนประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ไทยโพสต์. (2566). มูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมา, 2566. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://www.thaipost.net/economy-news/404339/

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พิมลพรรณ ไชยนันท์ และจักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2560). โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษกับการเปลี่ยนแปลง ในพื้นที่ชายแดน: บทสำรวจเบื้องต้นในบริบทพื้นที่ตากและเชียงราย. วารสารสังคมวิทยา มานุษยวิทยา, 36(1), 104-127.

ภาสกร ศรีสุวรรณ และ ธีรพงษ์ วิริยานนท์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อ วิดีโอ ออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://so04.tcithaijo.org/index.php/svittj/ article/download/213554/

วรรณภา แตกปัญญา. (2559). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิกรานต์ มงคลจันทร์. (2556). The Invisible Hat ถอดหมวก... เปิดความคิด ชีวิตและการตลาด. กรุงเทพฯ: อาคเนย์.

วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ และคณะ. (2559). re: digital การตลาดยุคใหม่ เจาะใจลูกค้า. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

ศากุล ช่างไม้. (2546). การเก็บข้อมูล การจัดการกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 9(3), 164-173.

สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 2055-2068.

สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์. (2560). เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย กับอาเซียน: ภูมิภาคนิยม รัฐ และทุน. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 36(1), 10-26.

Ana Gvaramadze. (2022). Travel Motivations of Educational Tourists Arriving in Georgia.European Scientific Journal, 18(12),28-38.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2007). Research methods in education. London: Routledge.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. 13th ed. New Delhi: Prentice Hall of India.

Kitchen, P. J., & Pelsmacker, T. (2004). The Emergence of IMC: A Theoretical Perspective. Journal of Advertising Research, 44(1), 20-31.

Wertime, K., & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing: The Essential Guide to New Media and Digital Marketing. Singapore: John Wiley & Sons (Asia).