การพัฒนาบทเรียนออนไลน์สำหรับครูภาษาจีนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภูมิภาคตะวันตก

Main Article Content

สาวิตรี ตนสาลี
โกวิทย์ ชนะเคน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ และ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ของครูผู้สอนรายวิชาภาษาจีนในภูมิภาคตะวันตก รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือครูภาษาจีนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภูมิภาคตะวันตกที่ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจประเมินประสิทธิภาพด้านเนื้อหาภาษาจีนและเทคนิคการผลิตบทเรียนออนไลน์ และให้กลุ่มตัวอย่างออกแบบเนื้อหาบทเรียนภาษาจีน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและการจัดกลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนออนไลน์สำหรับครูภาษาจีนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก และมีรูปแบบของบทเรียนออนไลน์ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ประกอบด้วย บทคู่มือครู บทเรียนคำศัพท์ บทเรียนหลัก ภาระงานย่อย และภาระงานหลัก
2. ทักษะการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอยู่ในระดับดี ประกอบด้วย 6 ทักษะ ได้แก่ 1) การเขียนเนื้อหา 2) การกำหนดผลการเรียนรู้ 3) การกำหนดรูปแบบภาษาที่มุ่งเน้น 4) การกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ 5) การกำหนดชิ้นงานให้สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ และ 6) การออกแบบการวัดประเมินงาน โดยเนื้อหาที่ออกแบบปรากฏหน้าที่ทางภาษา 13 หน้าที่ทางภาษา 22 รูปประโยค

Article Details

How to Cite
ตนสาลี ส., & ชนะเคน โ. (2024). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์สำหรับครูภาษาจีนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภูมิภาคตะวันตก. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(1), 1–16. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.1
บท
บทความวิจัย

References

Ellis, R. (2003). Task-Based Language Learning and Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Guo P.J. (2014). How video production affects student engagement: an empirical study of MOOC videos. Proceedings of the first ACM conference on Learning @ scale conference. https://dl.acm.org/doi/ 10.1145/2556325.2566239

Kaemmanee, T. (2007). Teaching method: knowledge for an effective learning management (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Books.

Klinhom, N., Moolmee, K. & Inprasitha W. (2017). Development of grade 11 students’ Chinese speaking skills using TBL (task-based learning). Khon Kaen University Journal, 40(2), 73-79.

Li, Q. (2006). Curriculum, syllabus and teaching method of Teaching Chinese to foreign. Beijing: Shangwu Press.

Nunan, D. (2004). Task-based language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Office of Guojia Hanyu Jiaoxue. (2002). Chinses syllabus for foreign students. Beijing: Beijing Language University Press.

Sanguannuan, K. (2003). A study of curriculum implementation of foreign language learning strand (Chinese) in schools under the Bangkok metropolitan Administration (Master Dissertation). Chulalongkorn University.

Sankaburanurak, S. (2016). A development of task-based teaching model to promote Chinese reading comprehension ability for undergraduate students (Doctoral Dissertation). Silpakorn University, Nakhon Pathom.

Sankaburanurak, S. (2017). Chinese language teaching management through task-based. Panyapiwat Journal, 9(Special edition), 260-271.

Skinner, B. F. (1954). The science of learning and the art of teaching. Harvard educational review, 24, 86–97.

Srirasa, Y. (2018). Communicative language teaching (CLT) management with mixed media to promote Chinese speaking skills for Mayhayon Suksa 2 students. Mahasarakam University Journal, 24(1),1-12.

Sriyanluck, K., Leepiyachart, N., Mahakhan, N., Limthawaranan, W., Arthornthurasuk, P., Jitpenthomkim U., Sa-nguansri T., Saroj K., Larprungruang S. & Maneelarp D. (2011). Satisfaction study of e-learning lessons of Korean, Chinese and Japanese courses 1. Burapa University Journal, 19(31), 105-121.

Theeravit, K. (2008). Teaching Chinese language in Thailand at elementary and high school levels (Research report). Chulalongkorn University.

Thorndike, E. L. (1905). The elements of psychology. A G Seiler. https://doi.org/10.1037/10881-000

Tonsalee, S. (2018). Functional items and sentence patterns using in Chinese for tourism and hotel courses in Thailand. Proceedings of SMARTS 8, Nakhon Pathom Rajabhat University. June 22, 502-509.

Wilkins, D.A. (1976). Notional syllabuses: a taxonomy and its relevance to foreign language curriculum development. Oxford: Oxford University Press.

Willis, D., & Willis, J. (2007). Doing Task-Based Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Harlow: Longman.

Zhu, Z., Fu, X. & Li, C. (2014). Golden Chinese Communicative sentence 65. Beijing: Shijie Tushu Press.