ผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1

Main Article Content

รรินธร อุณหะ
แสน สมนึก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ก่อนเรียนและหลังเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดลาย (ทวีปัญญา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน (t-test Dependent samples)


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
อุณหะ ร., & สมนึก แ. (2023). ผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1270–1285. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.104
บท
บทความวิจัย

References

Appamano, I. (2019). Development of academic achievement and scientific process skills of prathomsuksa 2 students using 5 – step ladder learning management. (Master of Education). Rajabhat Maha Sarakham University.

Atin, S. (2019). The science and art of learning management in the 21st century. Bangkok: KhonKaen University Printing House.

Charoenthip, N. (1999). Scientific Creativity: A Holistic Perspective, Volume 1. Bangkok: Siam Over Cheese Pro Company Limited.

Chuayphan, P. (2017). Effects of using the 5-step learning process on scientific process skills. and scientific creativity, science learning subject group of Mathayom 3 students. Journal of Education Thaksin University, 17(2), 163-173.

Dechakupt, P., & Yindeesuk, P. (2015). Learning management in the 21st century. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology, (IPST). (2012). Professional science teacher. Guidelines for learning Effective teaching. Bangkok: Inter Education Supplies.

Jitchayawanich, K. (2020).Methods for organizing learning in the 21st century. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Kanthiya, P. (2016). The Development of Analytical Thinking Skills for Science through Five Steps Learning Management of Secondary School. Journal of Graduate Research, 7(2),137-152.

Ministry of Education. (2017). The Basic Education Core Curriculum B.E.2551. Bangkok: The Agriculture Co-operative Fere-deration of Thailand Printing National.

Office of the Basic Education Commission. (2012). Guidelines for organizing teaching and learning in schools, international standards. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly Press of Thailand.

Panmanee, A. (2014). Train to think. Think creatively. Bangkok: Chulalongkorn University.

Phasiphon, C. (2016).Measuring and evaluating learning outcomes. Bangkok:Chulalongkorn University Press.

Phattiyathani, S. (2019). Educational measurement. Kalasin: Prasan Printing.

Ritjaroon, P. (2016). Principles of educational measurement and evaluation. Bangkok: House of Curmist.

Tanak, E. (2020). Teaching how to think like a scientist. Bangkok: Cyberprint Group.

Torrence, E. P. (1992). A National Climate for Creativity and invention. Gifted Child Today, 5(1),10-14.