การปรับตัวทางวัฒนธรรมการบริโภคอาหารจีน ของคนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราช

Main Article Content

วรรษมน เสริมชูวิทย์กุล
อรรฉรา ไชยอนันต์สิน
สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมทางด้าน 的 อาหารจีนย่านเยาวราช 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมการกินของคนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราช รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดวัฒนธรรมทางอาหารอาหารจีน ที่มุ่งเน้นศึกษาอาหารแต้จิ๋วและกวางตุ้งเป็นกรอบการวิจัย โดยผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา คือ ร้านอาหาร 30 ร้าน ที่อยู่ภายใน 22 ชุมชนในพื้นที่เยาวราช ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. ประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมทางด้านอาหารจีนย่านเยาวราช พบว่า อาหารจีนที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายในสังคมที่นำมาทั้งหมด 9 ชนิด คือ ข้าวมันไก่ โจ๊ก อาหารเจ ก๋วยเตี๋ยว ติ่มซำ ขนมเปี๊ยะ อิ่วก้วย ปาท่องโก๋ และราดหน้า ยังคงความดั้งเดิมของสูตร และกระบวนการทำ
2. การปรับตัวทางวัฒนธรรมการกินของคนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราช พบว่า อาหารที่เป็นที่นิยมทั้ง 9 ชนิด มีการปรับเปลี่ยน เติมแต่ง หรือลดปริมาณของวัตถุดิบบางอย่าง เพื่อให้สามารถเข้ากับรสชาติและวัฒนธรรมอาหารไทย นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์อาหารบางอย่างเพื่อให้สามารถรับประทานได้ในทุกช่วงเวลา ไม่ใช่เพียงการรับประทานเพื่อวาระ หรือเทศกาลใดเทศกาลหนึ่ง อาทิ ขนมอิ่วก้วย ที่ใช้ในงานพิธี เทศกาล หรือการไหว้เทพเจ้าของจีน มีการปรับให้กลายเป็นขนมทานเล่นและมีไส้ให้เลือกรับประทานได้หลากหลายมากขึ้น
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนในประเทศไทย และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับกระบวนการดำรงรักษา สืบทอด ต่อยอดความเป็น “เยาวราช” วัฒนธรรมอาหารจีนในประเทศไทย ไปสร้างอัตลักษณ์เกี่ยวกับอาหารต่อไป

Article Details

How to Cite
เสริมชูวิทย์กุล ว., ไชยอนันต์สิน อ., & ธนจิราวัฒน์ ส. (2024). การปรับตัวทางวัฒนธรรมการบริโภคอาหารจีน ของคนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราช. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(1), 263–277. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.16
บท
บทความวิจัย

References

Duangwises, N. (2023). Cultural Diffusion definition. Retrieved 25 August 2022, from https://anthropology-concepts.sac.or.th/glossary/35

Jun, L. L. & Sukato, N. (2016). The factors affect on Chinese food consumer behavior. DPU Graduate Studies Journal, 5(1), 1-15.

Ketkanjananut, J & Keawsuwan, C. (2020). The Process of Becoming Teochew Confectioner for Chinese Festivals in Thailand. Mekong-Salween Civilization Studies Journal ,11(2), 100-132.

Kuaha, T. (2018). Iao-hin Phochana. Retrieved 25 August 2022, from https://adaybulletin.com/life-spaceandtime-iao-hin-phochana/22496

Photipan, S. (2007). The Study of belief and activities of Chinese Thai in Yaowarat [Master’s Thesis, Ramkhamhaeng University].

Rattanamankasem, A. (2008). Eat with AMA. Bangkok: Saengdao Press.

Rattanamankasem, A. (2015). Teochew Culture. Bangkok: Saengdao Press.

Sangkapipattanakul, T. (2021). “Teochew Chinese Cultures” Representations of Chinese Cultures in Thai Society. Journal of Chinese Language and Culture Huachiew Chalermprakiet, 8(1), 87-102.

Sikkahakosol,T. (2011). Teochew: Minority of Chinese having Powerful. Bangkok: Silapawattanatham Press.

Trisanawadee, S. (2020). The Immigrant Theory and New Chinese Immigrants. Chinese Studies Journal Kasetsart University ,13(2), 421-486.

Wongted, S (2008). Where did Thai food come from? ( Aharn thai ma jak nai?) . Bangkok: Nadahak Press.

XiaoJiu (pseud.). (2013). Be called “Teochew”. Bangkok: Matichon Press.

Zhao, Y. (2021). Chinese Food Culture in Thai Society: A Case Study of Mueang District in Chon Buri Province. [Master’s Thesis, Burapha University].

Zhou, M. (1997). Chinatown: The Socioeconomic Potential of an Urban Enclave. Philadelphia: Temple University Press.