รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา (2)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี พื้นที่วิจัยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 18 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูบุคลากร จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ในสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.872, S.D. = 0.630)ด้านที่มีสภาพพึ่งประสงค์สูงสุดคือ ด้านการนิเทศการสอน (= 3.937,S.D. = 0.665) วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวมพบว่า มีค่าความต้องการจำเป็นในระดับสูง (PNImodified= 0.117) เมื่อพิจารณาเป็นรายพบว่า ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (PNImodified= 0.106) วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผลการวิจัยรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่หรับโรงเรียน มัธยมศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) การกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์ 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้วัด 3) การจัดระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและ 4) การติดตาม ตรวจสอบ การวัดประเมินผลและการรายงาน นำองค์ประกอบทั้ง 4 มาพัฒนาการบริหารวิชาการในขอบข่ายการบริหารงานวิชาการคือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การวัดผลและการประเมินผล (4) การนิเทศการสอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ และพระมหาสายัณห์ เปมสีโล. (2563). การจัดการเรียนการสอนในความปรกติใหม่ในวิกฤตโควิด-19. วารสารนิสิตวัง, 22(2), 51-59.
จักรพันธ์ พรมฉลวย. (2564). การจัดการศึกษาวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์วิกฤติโควิด-19 โดยการบูรณาการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา, 13(5), 1-12.
ชัยศักดิ์ ตั้งนิติพิฐจักร และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (พฤษภาคม – สิงหาคม 2561). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่่การศึกษาประถมศึกษา.วารสารวิชาการครุศาสตร์ อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(2), 191-198.
ตรีนุช เทียนทอง. (2564). คําแถลงนโยบายการจัดการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 09.09 น. ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ.สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 64,จาก https://moe360.blog/2021/04/16/ education-policy/
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.
พรรณิอร อินทราเวช (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา:กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยงยุทธ ทรัพย์เจริญ, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และสมุทร ชำนาญ. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 1-13.
รชต กฤตธรรม, วรรณ รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล และองค์อร สงวนญาติ. (2563). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาวิถีใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 779-788.
รัตนา จันทร์รวม. (2560). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ดนัย โรจน์สราญรมย์. (2562). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิชัย ทองมาก. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สุภัชชา โพธิ์เงิน. (2562). นวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการศึกษาเพื่ออาชีพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). เรื่องนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณพ.ศ. 2564-2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
หน่วยศึกษานิเทศก์, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Daniel, S. J. (2020). Education and the Covid-19 pandamic. Prospects. Retrieved October 16, 2022, from https://doi.org/10.1007/s11125-020-09464-3
United Nations Development Group (2011). Results-based Management handbook. Harmonizing RBM concepts and approaches for improved development results at country level . Retrieved October 16, 2022, from https://unsdg.un.org/sites/default/files/UNDG-RBM-Handbook-2012.pdf