กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการ (2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารจัดการและแนวคิดทฤษฏีเชิงนวัตกรรม เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยเป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา สังกัดเขตตรวจราชการที่ 4 ประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น
ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 3 จังหวัดละ 4 คน ใช้วิธีโดยการเลือกแบบเจาะจงรวม 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรมพบว่า การจัดการเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อการสอน
งานวัดผลและประเมินผล ควรมีการบริหารงานที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีศักยภาพสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการพัฒนาบุคลากรพบว่าควรมีส่งเสริมพัฒนาการครูให้มีทักษะการคิดที่แตกต่างโดยใช้สื่อนวัตกรรมเป็นแนวทางการพัฒนา ด้านการสร้างนวัตกรรมพบว่าควรมีการนำนวัตกรรมด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมแบบสามดีโมเดลมาเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม ด้านการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม พบว่าควรมีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนางานวิชาการ และด้านการหาแนวทางปฏิบัติ พบว่าควรมีการนำแผนกลยุทธ์วิชาการสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดกลไกในการปฏิบัติงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี.
ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย,4(3), 330-341.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
วิจารณ์ พานิช. (2555). งานสำคัญของการศึกษาไทย สร้างทักษะให้ผู้เรียนพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. School in focus, 4(11), 6-7.
วิภา ทองหงำ. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม : กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). คิดนอกกรอบ: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). สมุทรปราการ: ออฟเซ็ท พลัส.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารงานโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
อัปสร เสถียรทิพย์. (2554). องค์กรอัจฉริยะ องค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสาร KM Lite, 4(3), 5-7.
Colaizzi P. (1978). Psychological research as the Phenomenologist views it. In Existential–Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds). London: Oxford University Press.
Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2012). Strategic Management and Business Policy:toward Global Sustainability. (13th ed). New York: Pearson Education.