พัฒนารูปแบบการสร้างความตระหนักรู้และพฤติกรรมลดการบริโภค เกลือโซเดียมในประชาชนจังหวัดนครพนม

Main Article Content

มารดี ศิริพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ (Action Research) อยู่ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทยปี พ.ศ. 2559-2568 ดำเนินการในจังหวัดนครพนมตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม 2565 แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์บริโภคกลือโซเดียม/สร้างชุดข้อมูลอาสาสมัครและชุมชน 2) สร้างรูปแบบความตระหนักรู้การบริโภคเกลือโซเดียมสำหรับประชาชน 3) พัฒนาหลักสูตรการอบรม 4) ประเมินผลรูปแบบและหลักสูตรที่นำไปใช้ในชุมชน ผลการศึกษาดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยการบริโภคเกลือโซเดียมต่อวันของประชาชนสูงเกินค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลกและในเพศหญิงสูงกว่าชาย 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมต่อวัน คือ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ต่อเดือน ความชอบรสชาติอาหาร ดัชนีมวลกาย การไม่มีโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 3) รูปแบบการสร้างความตระหนักรู้ลดการบริโภคเกลือโซเดียมของประชาชนประกอบด้วย ศึกษาสถานการณ์บริโภคกลือโซเดียมแล้วนำข้อมูลมาออกแบบหลักสูตรและการอบรมให้ความรู้ สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย รณรงค์ สร้างกระแส ประชาสัมพันธ์ 4)ผลการนำรูปแบบและหลักสูตรอบรมไปใช้ในชุมชนพบว่า ประชาชนมีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง อุปสรรคของการปฏิบัติ ความรุนแรงของโรค ภาวะคุกคามของโรค และความสามารถของตนเอง แต่การรับรู้ผลประโยชน์การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงการบริโภคเกลือโซเดียมไม่มีความแตกต่างทั้งก่อนและหลังโครงการโดยพบว่าอยู่ในระดับดี 5) ผลการประเมินหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับดี ทั้งด้านการบรรยาย เนื้อหา และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษานี้จะนำไปวางแผนแก้ปัญหาและลดการบริโภคเกลือและโซเดียมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amornteparak, K., and Prasongdee, L. (2021). Effects of a Health Behavioral Change Program on a Cardiovascular Risk Group of Overweight Public Health Officers in Thap Than District, Uthai Thani Province. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 38(2), 152-160.

Department of Disease Control, Bureau of Non-Communicable Diseases. (2021). Annual Report 2020, Division of Non-Communicable Diseases. Bangkok: Aksorn Graphic and Design Publishing Limited Partnership.

Ministry of Public Health. (2016). Strategies to Reduce Salt and Sodium-Salt Consumption in Thailand B.E.2016-2025. 1st ed. The Printing Office of the War Veterans Welfare Organization of Thailand under Royal Patronage His majesty the King, Nonthaburi province.

Panmung, N. and et.al. (2018). The Use of Measures to Reduced Salty Intake in a Community Model. Division of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Nonthaburi province.

Phanmung, N., Srisawat, K., and Boontawee, P. (2020). An Experimental Study of The Use of Measures to Reduced Salty Intake in a Community Model. Department of Health Service Support Journal, 16(3), 39-48.

Siripath, N. (2022). Human Capital Development to Self-Directed Behavior for Thailand’s Athlete Health Industry: Role of Pharmacists in Athlete Health. The Seybold Report, 17(12), 1749-1761.

Srimongkol, T. (2017). Modification Program on Food Consumption Behavior among High-risk Group toward High-blood Pressure, Ta Chan Subdistrict, Kong District, Nakhon Ratchasima Province. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, 33(1), 77-89.

Suwanna, K. and et.al. (2020). Effect of Reducing Salt Consumption Program towards Dietary Consumption Behavior among with Hypertensive Risk Group: A Case study in Nakhon Si Thammarat. Health Science Journal of Thailand, 3(2), 1-13.

Wanichbuncha. K. (2017). Advanced Statistical Analysis with SPSS for Window (12th ed). Bangkok: 3 Lada Limited Partnership.

Wutthitham, N., Chontong, R. and Sompradit, C. (2019). The Effects of Self-efficacy Enhancement on Blood Pressure Level Controlled among Hypertension Risk Group. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 21(1), 309-318.