การบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี 2)ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี และ 3)ศึกษาแนวทางการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ผู้นำชุมชนและประชาชน รวมทั้งสิ้น 18 คน แล้วพรรณนาหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบมีเหตุผลอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัจจุบันการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสังคมชนบทกึ่งสังคมเมืองเป็นบทสะท้อนปัญหาการบริหารงานที่อยู่ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่ไม่มีความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายจากสภาพการเปลี่ยนทางสังคม เศรษฐกิจกิจ การเมือง และเทคโนโลยี 2)กฎระเบียบ ข้อบังคับ กลุ่มผลประโยชน์ สภาพแวดล้อมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชน ยังเป็นปัญหาที่คงอยู่ทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมในระดับการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี และ3)แนวทางการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ 3.1)การกำหนดขนาดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 3.2)การจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดและภารกิจ 3.3)การส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และ3.4)การกำหนดแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ภายใต้แนวนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้อย่างชัดเจนตามแนวทางหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สู่ความยั่งยืนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chairungruang, D.B. (2021). Participation of the people in the sustainable local development of Bangkok. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(3), 76-91.
Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Journal of Liberal Arts Review. Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University, 13(25), 103-118.
Kanoklertwonges, P. and Thabhiranrak, T. (2020). Factors Affecting Local Administration in Nonthaburi Province. Academic MCU Buriram Journal, 5(1), 109-121.
Lekhakula, K. (2018). Good Governance, Organizational Culture on Organizational Effectiveness of the Municipalities in the Southern Thailand [Doctoral dissertation, Hatyai University].
Panapipat, W. (2021). Factors affecting the development of local development plans of Municipalities in Surat Thani province. Pathumthani University Academic Journal, 13(1), 340-357.
Pensiriwan, P. (2019). Factors affecting leadership of sub-district municipality administrators in Nonthaburi province. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 2641-5658.
Phuangngam, K. (2015). Thailand’s Fiscal Democracy. Bangkok: Chulalongkorn University Printery.
Srikhruedong, A., Grawnak, N., Thodthankhun, T., and Praepattarapisuth, L. (2020). The model of participation process for transparency the Thai local government organization in the next decade sustain. Journal of Liberal Art of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, 2(1),341-356.
Theerakarunwong, W. (2019). Management in Accordance with Good Governance Principles Affecting Effectiveness of Sub-district Municipalities in Nonthaburi Province. Journal of Information, 18(2), 78-92.
Woraphatthirakul, P. (2021). Effective Management of Subdistrict Administrative Organization (SAO) in Nonthaburi Province. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 8(2), 15-31.
Yuenyong, T. (2018). People’s participation affecting local development in Nakhon Nayok province. Journal of MCU Nakhondhat, 5(2), 119 - 135.