การประเมินหลักสูตรวิชาบูรณาการโครงงานฐานวิจัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เขต 1

Main Article Content

บรรณรต จันทร์ประดิษฐ์
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
ธนาดล สมบูรณ์
วีระ วงศ์สรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิชาบูรณาการโครงงานฐานวิจัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลมะนัง ปีการศึกษา 2564 ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบ CIPP Model รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน ครูผู้สอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  5 คน นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 26 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 10 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 49 คน


ผลการวิจัยพบว่า การประเมินหลักสูตรวิชาบูรณาการโครงงานฐานวิจัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลมะนัง ใน 4 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านบริบทผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา
และครูผู้สอน มีความเหมาะสมสอดคล้องโดยรวมอยู่ในระดับ มาก 2) ด้านปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษา เห็นตรงกันว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง เห็นตรงกันว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครอง เห็นตรงกันว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ด้านผลผลิต เรื่องคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครูเห็นว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับมากที่สุด นักเรียนเห็นว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับมาก
ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ทั้ง 5 สมรรถนะ ครูและผู้ปกครองเห็นตรงกันว่าคะแนนโดยรวมของนักเรียนมีความเชี่ยวชาญ ในระดับคุณภาพ ระดับ 3 (สามารถ) นักเรียนเห็นว่าสมรรถนะสำคัญของตนเองมีความเชี่ยวชาญ ในระดับคุณภาพ ระดับ 2 (กำลังพัฒนา) และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ครูให้คะแนนโดยรวมอยู่ในระดับ ดี นักเรียนและผู้ปกครองเห็นตรงกันว่าคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลมะนัง ส่วนใหญ่ได้เกรด 3 ขึ้นไป มีผลการเรียนโดยรวมคิดเป็น ร้อยละ 100 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Board of Basic Education. (2021). Guidelines for teaching and learning management. Bangkok: Office of the Education Commissionbasic.

Chuka, C. (2008). Curriculum Development. Bangkok: QP.

Educational Testing Bureau. (2021). Guidelines for classroom measurement and evaluation in the epidemic situation of coronavirus disease 2019. Bangkok.

Eisner, E.G. (1975). The Perceptive Eye: Toward the Reformation of Educational Evluation. Stanford, C.A: Stanford Evaluation Consortium.

Kunarak, K. (1997). Curriculum and development. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Teachers Council of Ladprao.

Ministry of Education. (2017). National Education Plan B.E. 2560-2036. Bangkok: Office of the Education Council Secretariat.

Ministry of Education. (2019). Working with integration Organize a linking course Ready to drive educational innovation areas. Bangkok: Bangkok Business.

Niphan, M. (2010). Assessment of courses that emphasize decision-making using a systematic approach using the CIPP model, Graduate Program Assessment Manual [Master’s Thesis, Silpakorn University].

Pichet Benchamas. (2017). Research Base Project Guide "Prolonging the King's Science Developing Learning for the 21st Century Center Project Learning the research base project. Satun: Satun Kindergarten.

Provus, M. (1971). Discrepancy Evaluation for Educational Program Improvement and Assessment. California: McCutchan Publishing.

Stake, Robert E.S. (1973). The Countenance of Educational Evaluation. Boston: Allyn and Bacon, Inc.

Stufflebeam, D.L. (1971). Educatlonal Evaluation and Declsion Marking ltasca. Illinois: Peacock.

Supap, S. (2022). A 21st Century Curriculum Assessment Model developed from the CIPP Model. Journal of Education Burapha,33(1), 1-14.

Tyler, R. W. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.