องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

กวินวัชญ์ ชิงชัย
วัลนิกา ฉลากบาง
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเอกสาร ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ จำนวน 15 แหล่ง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ 2) ยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) การบริการ ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของบุคลากร ด้วยการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการให้คำแนะนำ ปรึกษา 1.2) การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้วยการแสดงออกถึงการเห็นคุณค่าของบุคลากร มีความเข้าอกเข้าใจ เห็นใจ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และปฏิบัติตนด้วยการเคารพสิทธิส่วนบุคคล  1.3) การตระหนักรู้ ผู้บริหารต้องมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตน มีไหวพริบ มองการณ์ไกล แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และตื่นตัว รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  1.4) การมีวิสัยทัศน์ คือความสามารถในการกำหนดวิสัยทัศน์ เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติและเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบหลักภาพรวม พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมเป็นไปได้ เรียงตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้อื่น ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการตระหนักรู้ และด้านการบริการ

Article Details

How to Cite
ชิงชัย ก., ฉลากบาง ว., & เสถียรนพเก้า พ. (2024). องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(1), 174–188. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.11
บท
บทความวิจัย

References

Chaitawat, N. (2018). Effective Leadership in Thailand 4.0 Era, Case Study of Khon Kaen Province [Master’s Thesis, National Defense Academy].

Chanida, K. (2019).Development model of The Servant Leadership of School Administrators Under Secondary Educational Service Office 4 [Doctoral dissertation, Burapha University].

Daft, R.L. (1999). Leadership Theory and Practice. Texas: The Dryden Press [Doctoral dissertation, Florida Atlantic University, Boca Raton].

Greenleaf, R. K. (2003). The Servant Leadership within. New Jersey: Paulist Press.

Kiattisak, K. (2016). The Causal Factors Affecting Servant Leadership Of Primary School Administrators Under The Office Of The Basic Education Commission[Doctoral dissertation, Burapha University].

Komkrit, P. (2016). Administrators'servant Leadership Affecting Participative Management In Administration Of School Under The Chonburi Primary Education Service Area Office 1 [Master’s Thesis, Rajabhat Rajanagarindra University].

Kullanun, A. (2019). A Servant Leadership Development Program For Student Trainees In The Furniture Companies In The Northeastern Region [Doctoral dissertation, Sakon Nakhon Rajabhat University].

Page, D., & Wong, T.P. (1998). A conceptual framework for measuring servant leadership. Canada: Trinity Western University.

Pattakarn, O.N. (2016). A Study Situation Leadership of School Administrators under the Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3 [Master’s Thesis, Pibulsongkram Rajabhat University].

Pranee, M. (2019). Causal Relationship Model of Transformational Leadership, Learning Organization and Quality of Work Life Influencing Patient Unit Performance in General Hospitals under the Ministry of Public Health. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 22(3), 111 – 124.

Tanaporn, W. (2016). Development Of Servant Leadership Attribute Indicators Of The Nursing Academic Institute Administrators [Doctoral dissertation, Valaya Alongkorn Rajabhat University].

Thitirat, R. (2013). The Relationship between Leadership Styles of School Administrators and Effectiveness of Academic Affair Administration of School in Department of Local Administration in Region 5 [Master’s Thesis, Dhonburi Rajabhat University].

Vareerat, C. (2015). The Relationship Between Servant Leaders Nurses As Perceived By Professional Nerses And Motivation Of Professional Nurses At University Hospital Located In Lower Nourthern [Master’s Thesis, Naresuan University].

Wissanukorn, T. (2020). The contingency leadership affecting the effectiveness of personnel administration of primary schools under Suratthani Primary Educational Service Area Office 3 [Master’s Thesis, Suratthani Rajabhat University].

Yukl, G. (2002). Leadership in organizations. 5th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice – Hall.