สาเหตุที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

Main Article Content

นิพนธ์ วรรณเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสาเหตุที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีโดยใช้แนวคิดทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์สเบอร์กและทฤษฎีการจูงใจของ อี.อาร์.จี (E.G.R) ประกอบด้วย แรงจูงใจ 5 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จของงานด้านการได้รับการยอมรับด้านความรับผิดชอบด้านความก้าวหน้าและเติบโต และด้านความต้องการความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาที่เข้าเรียนในสาขาวิชาการบริหารการศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจงจากกลุ่มประชากรทั้งหมด ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95


ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามีระดับแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ด้านความสำเร็จของงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้านความต้องการความสัมพันธ์ นักศึกษามีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความก้าวหน้าและเติบโต กับด้านการได้รับการยอมรับมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.การประเมินสาเหตุที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด พบว่า สาเหตุที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสำเร็จของงานเป็นสาเหตุของแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของนักศึกษาในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความต้องการความสัมพันธ์ ด้านความก้าวหน้าและเติบโต
และด้านการได้รับการยอมรับ ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
วรรณเวช น. (2023). สาเหตุที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1171–1185. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.98
บท
บทความวิจัย

References

ธัชพงศ์ เอี้ยวสกุล. (2551). แรงจูงใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจของนักเรียนระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นปที่ 2 และชั้นปที่ 3 โรงเรียนพณิชยการเพชรบุรี. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัฐธีร์ ไชยสิริวิชญ์ และ สุมิตร สุวรรณ. (2563). ความสนใจของนิสิตนักศึกษาในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารวิชาการ ปขมท., 9(3), 123-136.

ราชกิจจานุเบกษา. (2557). การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคุรุสภา.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อารีย์ พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการสอน. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนเลิฟเพรส.

อรุณทวดี พัฒนิบูลย์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจของนักศึกษาระดับปริญญาโทในการเลือกเข้าศึกษาต่อที่สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 17-21.

Alderfer, C. P. (1972). Existence Relatedness and Growth. New York: Free Press.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological (3rd ed.). New York: Harper & Row Publisher.

Herzberg, F.(1959). The Motivation of work (2nd ed.). New York: john Wiley Anderson.Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper & Row Publishers.