ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครู โรงเรียนไทยคริสเตียน

Main Article Content

เบญจวรรณ สุขพิทักษ์
นันทรัตน์ เจริญกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้แนวคิดความฉลาดทางจิตวิญญาณเป็นกรอบการวิจัย ประชากร คือ โรงเรียนไทยคริสเตียน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย ครูประถมศึกษา ครูมัธยมศึกษาตอนต้น และครูมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 49 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า
ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนไทยคริสเตียนในภาพรวม คือ 0.313 (PNIModified = 0.313) เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่า การเข้าใจความหมายบุคคล มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNIModified = 0.522) รองลงมา คือ การตระหนักรู้ความจริง (PNIModified = 0.393) รองลงมา คือ การเปิดกว้างจิตสํานึก (PNIModified = 0.390) และการคิดวิจารณญาณมีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNIModified = 0.054) ตามลำดับ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานอันจะเป็นแนวทางในการนำไปสู่การวางแผนการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครู ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทตามความต้องการจำเป็นอย่างแท้จริงให้เกิดความเหมาะสมต่อไป

Article Details

How to Cite
สุขพิทักษ์ เ. ., & เจริญกุล น. (2023). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของครู โรงเรียนไทยคริสเตียน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 780–793. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.52
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. (2562). จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บประจำปีปฏิทิน พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/dsp/journal_detail.php?publish=9554

ณัฐภรณ์ นรพงษ์. (2553). การวิเคราะห์เปรียบเทียบโมเดลประยุกต์และโมเดลบูรณาการการวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในบริบทสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกายทิพย์ พิชัย. (2559). การลดการสูบบุหรี่ของนกัศึกษาที่ติดบุหรี่ โดยใช้การเปลี่ยนความคิดและการวางเงื่อนไขพฤติกรรม: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์. (2559). ความฉลาดทางจิตวิญญาณและความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(3), 187-199.

Amram, J. Y. (2007). The seven dimensions of spiritual intelligence: An ecumenical grounded theory. Paper presented at the 115th Annual Conference of the American Psychological Association. San Francisco, CA. Retrieved July 15, 2021, from http://www.yosiamram.net/papers

Amram, J. Y. & Dryer, D. C. (2008). The Integrated Spiritual Intelligence Scale (ISIS): Development and preliminary validation. Paper presented at the 116th Annual Conference of the American Psychological Association. Boston: Massachusetts.

Cook, S., Macaulay, S. & Coldicott, H. (2004). Change management excellence: Using the four intelligences for successful organizational change. London: Kogan Page.

Emmons, R. A. (2000). Is spirituality an intelligence? Motivation, cognition, and the psychology of ultimate concern. The International Journal for the Psychology of Religion, 10, 3–26.

King, D. B. (2008). Rethinking claims of spiritual intelligence: A definition, model, and measure (Master’s Thesis). Trent University.

Lawrence, K. (2013). Developing Leaders in a VUCA Environment. UNC Executive Development. Retrieved September 14, 2022, from www.emergingrnleader.com

Noble, C. (2002). Market orientation and alternative strategic orientations: a longitudinal assessment of performance implications. Journal of Marketing, 66(4), 25-39.

Payutto, P.A. (2018). Phutthatham (chabap dœ̄m), Buddhadhamma (original edition). Bangkok: Thammasapa.

Sahebalzamani, M., Farahani, H., Abasi, R., & Talebi, M. (2013). The relationship between spiritual intelligence with psychological well-being and purpose in life of nurses. Iran J Nurs Midwifery Res, 18, 38-41.

Sisk, D. A. (2016). Spiritual intelligence: developing higher consciousness revisited. Gifted Educational International, 32(3), 194-208.

Wiggglesworth, C. (2004). Spiritual intelligence: the ultimate intelligance. New York: Bloomsbury.

WHO. (2010). Health literacy and health promotion. definitions, concepts andexamples in the Eastern Mediterranean Region. 7th Global conference onhealth promotion promoting health and development. Nairobi, Kenya, 26-30.

Wolman, BB. (2001). Dictionary of Behavior Science. New York: Van Norstand Reinhold.

Zohar, D. & Marshall, I. (2004). Spiritual capital: wealth we can live by. San Francisco: Berrett-Koehler.