มาตรฐานการบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา

Main Article Content

สุภาวดี มิสุนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) มาตรฐานและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา 2) ผลการยืนยันมาตรฐานและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นหน่วยวิเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาจำนวน
3 โรงเรียน มีผู้ให้สัมภาษณ์โรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน/ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูผู้สอน 1 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนและตัวแทนผู้ร่วมพัฒนาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนารุ่นที่ 1
และ 2 จำนวน 102 โรงเรียน สถิติที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
1. มาตรฐานและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน 16 ด้าน และ 98 ตัวบ่งชี้ คือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มี 2 ด้าน 20 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มี 9 ด้าน 46 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 5 ด้าน 32 ตัวบ่งขี้
2. ผลการยืนยันมาตรฐานและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 186 คน เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวน 95 ตัวบ่งชี้ ส่วนอีก 3 ตัวบ่งชี้ คือมาตรฐานที่ 1 ด้านที่ 2 ตัวบ่งชี้ที่ 4 บริหารงานวิชาการเชิงธุรกิจ เห็นด้วย 56 คน คิดเป็นร้อยละ 30.11 ไม่เห็นด้วย 130 คน คิดเป็นร้อยละ 69.89 และตัวบ่งชี้ที่ 5 นิเทศ กำกับ ติดตามการบริหารคุณภาพสถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นด้วย 120 คน คิดเป็นร้อยละ 64.52 ไม่เห็นด้วย 66
คิดเป็นร้อยละ 35.48 และมาตรฐานที่ 2 ด้านที่ 2 ตัวบ่งชี้ที่ 5 นิเทศภายในโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมพัฒนา เห็นด้วย 170 คิดเป็นร้อยละ 91.39 ไม่เห็นด้วย 16 คน คิดเป็นร้อยละ 8.61 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
มิสุนา ส. . (2023). มาตรฐานการบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 747–763. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.50
บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุภาวดี มิสุนา, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Nonthaburi

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมิน. การประชุมวิชาการเปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม. วันที่ 29 สิงหาคม 2551 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน.

Bureau of Educational Testing.(2020).Establishing Educational Standards for Educational Institutions. Bangkok: N.A. Rattanatrading Partnership Limited.

Epstein, J. L. and others. (2009). School, Family, and Community Partnerships: Your Handbook for Action. 2nd. California: A sage Publications Company Thousand Oaks.

Howard,S. and Taylor,L. (2001).School-Community Partnerships : A Guide In The School Mental Health Project. California: UCLA.

John C. (1998).Leadership and the Tearning Organization in Self Managing School. Victoria: University of Melbourne.

Johnstone, J. N. (1981). Indicators of Education System. London: McGraw-Hill.

Kilpatrick, S.,Johns, S. and Mulford, B. (2003).Maturing School–Community Partnerships: Developing Learning Communities in Rural Australia. Australia: University of Tasmania.

National Parent Teacher Association. (2015). PTA National Standards for Family-School Partnerships: An Implementation Guide (Research Report). National Parent Teacher Association.

Office of the Basic Education Commission. (2018).Partnership School Project. Bangkok:Aksornthai Printing House.

Roche, M. K. and Kelly Vaillancourt Stronach. (2019). Nine Elements of Effective School Community Partnerships to Address student Mental Health, Physical Health, and Overall Wellness. (Research Report). Institute for Educational Leadership, National.

Sandra, M. (2005).Analysis of Characteristics of Effective School and Business Partnerships : A Case Study of a Medium Size Florida District (Doctoral Dissertation). Florida State University College of Education.

Misuna, S. (2022). The Deputy Director of Suphanburi Primary Educational Service Area Office 1. Interview, February 18-19, 2022.

Pissuwan,S.(2019).Problems of Thai Education and the Inferiority of Global Competitiveness. Retrieved Jan 10, 2019, From http://urll.us./uKvAV

The Council for Corporate and School Partnerships. (2022). A How-to Guide for School-Business partnerships. Retrieved March 8, 2019, from https://outreach.ou.edu/educationalservices/ education/edutas/comprehensive-centers-archive/knowledgebases/response-to-intervention knowledgebase/be-aware- of-non-financial-resources/a-how