เส้นทางการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น และคุณภาพชีวิตในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เชษฐาฃ ฃมุหะหมัด
เดโช แขน้ำแก้ว
บุญยิ่ง ประทุม
พีระพงค์ สุจริตพันธ์
พีรดาว สุจริตพันธ์

บทคัดย่อ

เส้นทางการเรียนรู้เป็นเหมือนเข็มทิศที่สร้างประสบการณ์และมีส่วนร่วมในพื้นที่เพื่อศึกษาเส้นทางการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพพื้นที่วิจัย คือ พื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 คน ประกอบด้วย กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มสถานประกอบการและวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศและกลุ่มสถาบันการศึกษาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มภาคเอกชนโดยการเลือกแบบสโนบอล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างแนวทางการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่แห่งการเรียนรู้โดยใช้ตลาดความสุขชาวเลเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ 1) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับอนุสาวรีย์วีระไทย (พ่อจ่าดำ) เส้นทางประวัติศาสตร์ของการยกพลขึ้นบกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของทหารญี่ปุ่น 2) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติบำบัดและตลาดความสุขชาวเล
เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับอุโมงค์โกงกาง เยี่ยมชมระบบนิเวศในพื้นที่ ดื่มด่ำกับธรรมชาติ พร้อมลิ้มรสน้ำผึ้งจากป่าโกงกางในตลาดความสุขชาวเล และ 3) เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจชุมชนและอาหารท้องถิ่น เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตต้นกล้า ขยายพันธุ์ จำหน่ายพันธุ์มะพร้าว และเรียนรู้ภูมิปัญญาการแปรูปมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ลักษณะ “รู้ รัก รส” ประกอบด้วย
1) รู้-วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ 2) รัก-ธรรมชาติบำบัดและตลาดความสุข 3) รส-อาหารท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชนที่เป็นประโยชน์เพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นและคุณภาพชีวิตสำหรับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

Article Details

How to Cite
ฃมุหะหมัด เ., แขน้ำแก้ว เ., ประทุม บ., สุจริตพันธ์ พ., & สุจริตพันธ์ พ. (2023). เส้นทางการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น และคุณภาพชีวิตในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1096–1108. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.93
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ พลีรักษ์. (2557). การท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 9(2), 3-15.

เทศบาลเมืองปากพูน. (2561). เทศบาลเมืองปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2566, จาก https://www.pakpooncity.go.th/

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ, เสรี วงษ์มณฑา, ชุษณะ เตชคณา และณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 34-45.

นนทิภัค เพียรโรจน์, สิริภัทร์ โชติช่วง และณัฐมน ราชรักษ์. (2558). การเชื่อมโยงเส้นทางและการส่งเสริมการตลาดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่ม 4 จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 32(2), 89-115.

มณีวรรณ ชาตวนิช. (2555). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชนตลาดพลู เขตธนบุรี. กระแสวัฒนธรรม, 13(24), 16-32.

วริศรา สมเกียรติกุล, กมล เรืองเดช และบุญฤกษ์ บุญคง. (2562). แนวทางการจัดทำโปรแกรมประยุกต์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 144-155.

วันชัย ธรรมสัจการ, อัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์, ปรีดี โชติช่วง, อังคณา ธรรมสัจการและสมฤดี สงวนแก้ว. (2565). ทุนชุมชนและศักยภาพในการจัดการตนเองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 14(1), 22-32.