ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำ ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม

Main Article Content

สุปัญญา ปักสังคะเณย์
สุกัญญา แช่มช้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ใช้แนวคิดขอบข่ายการบริหารกิจการนักเรียนเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนประจำ เต็มรูปแบบ(ไม่มีนักเรียนไป-กลับ) ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประจำ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้ดูแลนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถามเรื่องความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
คือ งานกิจกรรมเสริมหลักสูตร รองลงมาคือ งานบริการและสวัสดิการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ งานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย และสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ งานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย รองลงมา คือ งานด้านบริการและสวัสดิการ และงานกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
2. ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ 1)งานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย 2)งานบริการและสวัสดิการ และ 3) งานกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลของการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ที่ได้แสดงถึงงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำที่เป็นอยู่ และงานบริหารกิจการนักเรียนที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา รวมถึงทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารกิจการนักเรียนได้ทราบข้อมูลของการบริหารกิจการนักเรียน สำหรับการนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในบริบทของโรงเรียนประจำต่อไป

Article Details

How to Cite
ปักสังคะเณย์ ส. ., & แช่มช้อย ส. . (2023). ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำ ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1038–1051. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.89
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. (2538). การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

ณัฐนนท์ ค้าขาย และคณะ. (2562). การบริหารจัดการงานกิจกรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่.วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 1(1), 23-30.

ชัยเดช อารีศิริไพศาล. (2562). การบริหารกิจการนักเรียนที่มีคุณภาพ. การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ Graduate School Conference,3(1), 248-256.

เดชา แก้วภูมิเห่. (2554). สภาพและปัญการการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาเดช บุญเชิดชู. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนประจำเอกชนประเภทพับลิคสกูล กับโรงเรียนประจำเอกชนประเภทอื่น ในเขตกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิริยะ ผลพิรุฬและปังปอนด์ รักอำนวยกิจ. (2558). ทุนมนุษย์กับผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มนฤดี ซาวคําเขตต์. (2564). การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงอนาคตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 373-386.

วาทยุทธ พุทธพรหม. (2555). การพัฒนาระบบบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันธ์ (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (16 กันยายน 2557). เลี้ยงให้รุ่ง ความมุมานะ ความใฝ่รู้ และพลังแฝงของลักษณะนิสัย.สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก http://www.thaiihdc.org/web/index.php?option=com_ content view=article&id=1216:2557-09-16-02-09-21&catid=16:2557-06-25-06-51-47

สิตาภา เพชรนที. (2559). สภาพการบริหารกิจการนักเรียนของอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11, 804-819.

สมคิด กอมณี. (2548). การพัฒนาความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กลุ่มสัมพันธ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2),153-168.

สมบัติ กระจ่างยุทธ. (2542). การศึกษากิจกรรมเสริมหลักสูตรดนตรีในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Murano, D., Martin, J. E., Burrus, J., & Roberts, R. D. (2018). Feedback and noncognitive skills: From working hypotheses to theory-driven recommendations for practice. The Cambridge handbook of instructional feedback. (pp. 240-263). Cambridge: Cambridge University Press.

Kautz, T., Heckman, J. J., Diris, R., Ter Weel, B., & Borghans, L. (2014). Fostering and measuring skills: Improving cognitive and non-cognitive skills to promote lifetime success. National Bureau of economic research, Cambridge: Cambridge University.