คุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมการตลาดที่ส่งต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

กฤษดา เชียรวัฒนสุข
เมธวี เพิ่มทรัพย์
ณรงค์พล ปัญญา
อนภิชฌา เกรียงเกร็ด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในจังหวัดปทุมธานี 2) ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในจังหวัดปทุมธานี และ 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในจังหวัดปทุมธานี วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากร คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในเขตจังหวัดปทุมธานี สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเลือกผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในเขตพื้นที่อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบและมีค่าความน่าเชื่อถือมากกว่า 0.8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่ง 2) ปัจจัยคุณค่าของตราสินค้า ในด้านการรับรู้ตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยและ 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ในด้านการส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
เชียรวัฒนสุข ก., เพิ่มทรัพย์ เ., ปัญญา ณ. ., & เกรียงเกร็ด อ. (2023). คุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมการตลาดที่ส่งต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 955–967. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.64
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

คณิน เมืองสวรรณ. (2565). 10 อันดับ น้ำพริกเผา ยี่ห้อไหนอร่อย ปี 2022 มีทั้งสูตรเผ็ดน้อย เผ็ดกลาง เผ็ดมาก. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://my-best.in.th/49883

ญาณิชพัฒน์ ยุวรรณศรี และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2560). ปัจจัยส่วนประสมตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า: กรณีศึกษาร้านกาแฟดอยช้างและกาแฟสตาร์บัคส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการวิจัยและวิชาการนวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ. (104-117). มหาวิทยาลัยรังสิต.

ดวงกมล ศรีอมรชัย และไกรชิต สุตะเมือง. (2557). แนวทางการส่งเสริมการขายที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่เซเว่นอีเลฟเว่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 4(1), 66-88.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีวีแอลการพิมพ์.

บัญฑิต ไวว่อง และประภาศรี อึ่งกุล. (2563). ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อน้ำพริกแกงไตปลาแห้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เกาะสิเหร่เสน่หา จังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 13 ประจำปีการศึกษา 2563. (1739-1749). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

มิติชนออนไลน์. (2559). เจาะธุรกิจ ‘น้ำพริกแม่ประนอม’ ไอดอล เอสเอ็มอีไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/economy/news_84334

รัตพล มนตเสรีวงศ์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2558). ปัจจัยการสร้างคุณค่าของตราสินค้า คุณภาพในการบริการและเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟ: กรณีศึกษาร้านกาแฟแบรนด์ไทยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการ การบริหารและจัดการ ครั้งที่ 10. (957-970). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วัลย์ลดา พรมเวียง. (2557). การเปรียบเทียบคุณค่าตราสินค้าในวิสาหกิจชุมชนจังหวัดยะลาและสงขลา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก. (2564). ตลาดน้ำพริกเผาไทยในสหรัฐอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/721860/ 721860.pdf

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว.(2565). ส่องแนวโน้มตลาดน้ำพริกจีน และโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://www.ditp.go.th/ contents_attach/756505/756505.pdf

สุพรรณิการ์ สุภพล. (2563). ความต้องการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริกของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.วารสารปัญญาภิวัฒน์,12(2),67-80.

อมรศรี แช่ตัน. (2563). การใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อัจฉรียา โชติกลาง, เจนคณิต สุขสัมฤทธิ์ และศุภฤทษ์ สายแก้ว. (2561). แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับพริกแกงกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี.

การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย 1 มีนาคม 2561. (1539-1545).มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

เอ็มจีอาร์. (2550). ความสำเร็จน้ำพริกแม่ประนอมยึดแนวคิดทำเองขายเองกว่า 47 ปี. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก https://mgronline.com/smes/detail/9500000067585

Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. New York: Free.

Gounaris, S., Dimitriadis, S., & Stathakopoulos, V. (2010) An examination of the effects of service quality and satisfaction on customers’ behavioral intentions in e-shopping. Journal of Services Marketing, 24(2/3), 142-156.

Kotler, P. (2000). Marketing Management: The Millennium Edition. Upper Saddle. River, NJ: Prentice Hall.

Kotler, P. (2012). Marketing Management Pearson Education. New Jersey: Prentice-Hall.

Marketeer. (2563). กรณีศึกษา น้ำพริกแม่ประนอม จากน้ำพริกที่สามีหลงใหลสู่ภาพลักษณ์ แม่ประนอมคนใหม่ของ Gen Z. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://marketeeronline.co/ archives/174615

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behavior. (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice.