ประสิทธิผลการจัดกิจกรรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง ตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก

Main Article Content

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน
ฐมาพร เชี่ยวชาญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถแห่งตนที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง  รูปแบบการเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แนวคิดผลการวิเคราะห์ตนเอง TOWS Matrix เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ชุมชนหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลสาลิกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 106 คน หญิง 77 คน ชาย 29 คน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 60 คน เลือกโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Dependent t – test และ Independent t – test


ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องอาหารสำหรับความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการควบคุมอาหารสำหรับความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมเลี่ยงการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ดีกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยก่อให้เกิดรูปแบบ L–M–S มีคุณค่าต่อการนำไปบูรณาทฤษฎีความสามารถแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วยคำถามนำ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมเสริมประสบการณ์ตรงที่ประสบความสำเร็จ และสถานการณ์จำลอง

Article Details

How to Cite
วิรัตน์เศรษฐสิน ก. ., & เชี่ยวชาญ ฐ. . (2023). ประสิทธิผลการจัดกิจกรรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง ตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1370–1384. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.111
บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน์ มะกล่ำดำ. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย โรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 20-39.

บรรลุ ศิริพานิช และคณะ. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565,จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_201616081 45901_1.pdf

ปฐมธิดา บัวสม และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมประสิทธิภาพตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ตำบลรมณีย์ อำเภอกะพง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 549-567.

ยุภาพร นาคกลิ้ง และปราณี ทัดศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 6(1), 27-35.

ศิริรัตน์ ธะประวัติ, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา และศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(2), 290-303.

สมจิตต์ สินธุชัย และคณะ. (2564). คู่มือการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับบุคลากรสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สายฝน สุภาศรี, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และวราภรณ์ บุญเชียง. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังผลลัพธ์ต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 51(1), 33-42.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2556). มาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565,จาก http://stat.thaifamily.in.th/StartpageFamily01.aspx

สุนันทา ศรีศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปรบเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์บริการสาธารณสข 19 วงศ์สว่าง กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพลศึกษา, 15 (ฉบับพิเศษ), 208-315.

Bandura, Albert. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W. H. Freeman.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7thed.). New Jersey: Prentice Hall.

Schmidt, H.G. (1983). Problem-ased learning: rationale and description. Medical Education, 17(1), 11-16.

Turner, R. C. & Carlson, L. (2003).Indexes of Item–Objective Congruence for Multidimensional Items, International. Journal of Testing, 3(2), 163-171.

Weihrich, H. (1982). The TOWS matrix – A tool for situational analysis. Long Range Planning, 15(2), 54-66.