ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

กรรวี โพธิ์ทอง
สุวิทย์ ภาณุจารี
ประทีป มากมิตร

บทคัดย่อ

สังคมโลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ทั้งโรคระบาด ด้านเทคโนโลยี สภาวะเศรษฐกิจและสังคม การบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อให้เท่าท้นการเปลี่ยนแปลงนั้น ประกอบกับแผนการศึกษาแห่งชาติมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาตนเองให้เป็นนวัตกร สถานศึกษาเป็นองค์กรนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 นี้


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายถึงเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา คุณลักษณะของผู้นำเชิงนวัตกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่วนตัว  ด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้ร่วมงาน และด้านที่เกี่ยวข้องกับงาน  องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพ  2) ด้านทักษะการทำงาน
และ 3) ด้านบทบาทหน้าที่ทางสังคม ตลอดจนบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ภายใต้ความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดนวัตกรรมในสถานศึกษาต่อไป

Article Details

How to Cite
โพธิ์ทอง ก. . ., ภาณุจารี ส. . ., & มากมิตร ป. . . (2023). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 1012–1026. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.68
บท
บทความวิชาการ

References

กุลชลี จงเจริญ. (2561). หน่วยที่ 12 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. ในประมวลสาระชุดวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและ ภาวะผู้นำ หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรมสู่การพัฒนาสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: รัตนสุวรรณการ.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จุฑาทิพย์ ชนะเคน. (2559). การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 (การศึกษาค้นค้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2561). หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. ในประมวลสาระชุด วิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สาขาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิตินันท์ นันทะศร. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณิชดาพร หวานสนิท และพรรณี ผุดเกตุ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 127 – 141.

ธันยากร ศรีสุขและ สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมกับความเป็นองค์กรนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(2), 1-14.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. (พิมครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

แพรลฎา พจนารถ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 241 – 256.

วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2562). พื้นฐานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . ตราด: เอนิว ดีไซน์ แอนด์ พริ้นติ้ง.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563 - 2566 . กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด็พับลิชชิ่ง.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. . กรุงเทพฯ: เอ็น. เอ. รัตนะเทรดดิ้ง.

องอาจ สิมเสน, รัชนีจรุง ศิรวัฒน์ และพระฮอนด้า เข็มมา. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่มาตรฐานสากล ประเทศไทย 4.0. Journal of Modern Learning Development, 5 (3), 317-328.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565, จากhttp://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/ 52233/-edu-t2s1-t2-t2s3

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อาฟานดี คอลออาแซ และ สรัญณี อุเส็นยาง.(2565). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(2),125-140.

Dave. (2007).Characteristics of Innovative Leaders. Retrieved on 9 May 2022, from http://innovative leadership. Blagsot.com/2007/02/innovative – leadership- progress-at- warp.html

Dawson, F. and Andriopoulos, C. (2017). Managing Change, Creativity and Innovation (3rd Ed.). London: SAGE.

Maital, S. and and Seshadri, D.V.R. (2012). Innovation Management: Strategies, Concepts and Tools for Growth and Profit (2nd Ed.). New Delhi: SAGE.

Office of the Education Council Secretariat. (2019). The National Educational Plan 2017 – 2036. Bangkok: Office of the Education Council Secretarai.