การบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สมฤดี พละวุฑิโฒทัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 21 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดนโยบายควรให้ผู้บริหารทุกระดับมีความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษาพิเศษ โรงเรียนทุกแห่งบริการอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค มีส่วนงานเฉพาะการศึกษาพิเศษและกรอบอัตรากำลังครูเพียงพอ ส่งเสริมอาชีพ และจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษของกลุ่มเขต 2) ด้านการวางแผนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีการวางแผนกลยุทธ์ ร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว นักสหวิชาชีพ และเครือข่ายทุกภาคส่วน 3) ด้านการบริหารงานวิชาการมีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดกิจกรรมตามความต้องการจำเป็นพิเศษ ครูทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และแผนการสอนเฉพาะบุคคล นำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ สนับสนุนการวิจัย ประเมินผลความก้าวหน้าเป็นรายบุคคล 4) ด้านการบริหารงานบุคคลสรรหาและคัดเลือกครูโดยร่วมมือกับสถาบันผลิตครู จัดสรรทุน และทำข้อตกลงบรรจุ การรักษาและพัฒนา ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ สร้างขวัญกำลังใจ และเน้นที่ผลการพัฒนาเด็กเป็นสำคัญ 5) ด้านการบริหารงานทั่วไปปรับปรุงสภาพแวดล้อม พัฒนาฐานข้อมูล ประชาสัมพันธ์ และจัดตั้งกองทุน 6) ด้านการบริหารงบประมาณ จัดสรรตามความจำเป็น และปฏิบัติแบบมุ่งเน้นผลงานเป็นสำคัญ และ 7) ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษายึดหลักทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

Article Details

How to Cite
พละวุฑิโฒทัย ส. (2023). การบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1253–1269. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.103
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (20 ธันวาคม 2562). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จากhttp://dep.go.th/uploads/Docutents/8565960f-cb64-416a-827f-643a8a34 ee15รายละเอียดข้อมูลคนพิการ%20ธ.ค.62.pdf

จุฑารัตน์ ใจแกล้ว. (2560). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนแกนนำการเรียนร่วมกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(1), 65-77.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2562). การวิจัยอนาคตแบบเดลฟายและชาติพันธุ์วรรณนา. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/enedu/article/view/5854/5491

ฑมลา บุญกาญจน์. (2560). การช่วยเหลือโดยใช้กิจวัตรประจำวันเป็นฐาน ในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Routines-Based Early Intervention: RBEI). วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 6(1), 91-92.

ปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์. (2561). กระบวนการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ โดยใช้โครงสร้างซีท. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 9(1), 93-113.

ผดุง อารยะวิญญู. (2555). แนวทางการพัฒนาการศึกษาพิเศษไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 1(1), 17-21.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2555) การบริหารจัดการเรียนร่วมโครงสร้างซีท (SEAT) ในสถานศึกษา. วารสารนักบริหาร, 32(2), 216-222.

เมธี เชษฐ์วิสุต. (2558). การบริหารการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาพิเศษ โรงเรียนแกนนำจัดการการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา จังหวัดน่าน. วารสาร Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 1049-1058.

เรืองสิทธิ์ นามกอง. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการใช้ทรัพยากรทางการบริหารเพื่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(4), 142-153.

ศรียา นิยมธรรม. (2555). FLASH MODEL กลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนรู้ ของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: ไอ.คิว.บุ๊คเซ็นเตอร์.

สมพร หวานเสร็จ. (2562). การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมโดยใช้รูปแบบ SPISIR. วารสาร Sikkhana, 6(7), 151-162.

สำนักการศึกษา. (2554). การเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับเด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

อรุชา สว่างโลก. (2562). การบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วมสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 9(2), 162-171.

เอกชัย อ้ายม่าน. (2559). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา โรงเรียนแม่จันวิทยาคม. วารสารครุศาสตร์วิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 1(2), 40-54.

Doore, B. et al. (2012). Response to Intervention in Maine Status report of Implementation. USA: Orono.

Kendra Schneider. (2016). An Investigation of Education Leaders’ Perceptions of Their Knowledge of Special Education Law. Student Work, (January 2016), 75-77.

Kimberly A. W. (2015). Social Justice: Principals’ Perceptions of Their Own Preparedness with Special Education Administration. ProQuest LLC.

Patrice A. Thompson. (2017). Effective Leadership Competencies of School-Based Special Education Administrators. Journal of Special Education Leadership, 30(1), 31-47.