เปรียบเทียบการตัดสินใจสินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยระหว่างธนาคารรัฐบาลกับธนาคารพาณิชย์ของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รดา เรณูแย้ม
บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดบริการ 2) ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ 3) ปัจจัยด้านทัศนคติ และ 4) เปรียบเทียบการตัดสินใจรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยระหว่างธนาคารรัฐบาลกับธนาคารพาณิชย์ของลูกค้าในกรุงเทพมหานครผลิตภัณฑ์การส่งเสริมการตลาดและกระบวนการให้บริการ มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้สินเชื่ออย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 การวิจัยครั้งนี้แบบผสมผสาน ส่วนแรกเป็นวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนที่สองเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 25 คน โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ปัจจัยคุณภาพการบริการและปัจจัยทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ปัจจัยคุณภาพการบริการและปัจจัยทัศนคติมีอิทธิพลในการตัดสินใจ
รีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยระหว่างธนาคารรัฐบาลกับธนาคารพาณิชย์ของลูกค้าในกรุงเทพมหานครแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ปัจจัยคุณภาพการบริการและปัจจัยทัศนคติส่งผลต่อการตัดสินใจรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยระหว่างธนาคารรัฐบาลกับธนาคารพาณิชย์ของลูกค้าในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
เรณูแย้ม ร., & สัมพันธ์วัฒนชัย บ. (2023). เปรียบเทียบการตัดสินใจสินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยระหว่างธนาคารรัฐบาลกับธนาคารพาณิชย์ของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 764–779. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.51
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชบัญชา, (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แก้วตา หุนนาลา และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพิจารณาเลือกใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2), 390-399.

จันทกานต์ ตันเจริญ. (2564). ความภักดีในการใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชยพล บุญกลิ่นขจร. (2560). ปัจจัยและการสร้างแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำหรับคนทำงานในแถบปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชาญวิทย์ บูรณะสันติกุล และ ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมนครและปริมณฑล กรณีศึกษา บริษัท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). Journal of Modern Learning Development, 7(8), 196-209.

ปวิตรา ภูลสนอง. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการสินเชื่อธนาคารกรุงไทย สาขาซีคอนบางแค (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

ภพธร วุฒิหาร. (2561). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการบ้านประชารัฐของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 4(1),18-42.

รักชนก ฤกษ์อังคาร. (2560). พฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าธนาคารออมสินเขตนครปฐม จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิมลรัตน์ ดาวกลาง. (2559).ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของรัฐในจังหวัดปทุมธานี. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 3(1),31-39.

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2562). การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z2968.aspx

สุรเสกข์ หงส์หาญยุทธ. (2561). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีในการเลือกใช้บริการสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(1), 91-103.

Cochran, W. G., Mosteller, F., & Tukey, J. W. (1953). Statistical problems of the Kinseyreport. Journal of the American Statistical Association, 48 (264), 673-716.

El Mulnic. L. (2017). The emergence of the marketing mix in the banking sector. Bulletin of the Transivania of Brasuv- Special Issue, 59(2), 35-42.

Hamblin, R. L. (1974). Social attitudes: Magnitude measurement and theory. In: BLA- LOCK, H.M. (Ed.). Measurement in the social sciences: Theories and Strategies. Chicago: Aldine.

Hashim, N., & Hamzah, M.I. (2014). 7P’s: A Literature Review of Islamic Marketing and Contemporary Marketing Mix. Social and Behavioral Sciences, 130, 155-159.

Hunt, B., & Terry, C. (2018). Financial institutions and markets. South Melbourne, Australia : Cengage Learning.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principle of marketing (15thed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

McGrew, G., & Wilson, M.J. (1982). Decision making approaches and analysis. Manchester: Manchester University Press.

Parasuraman, A. Zeithaml, V. & Berry, L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perception of service quality. Journal of Retailing,64, 12-40.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. & Berry, L. (1990). Delivery Quality Service, Balancing customer perceptions and expectations. New York: The Free Press.

Rares, O.D. (2014). Measuring Perceived Service Quality Offline vs. Online : a ner PeSQ Conceptual Model. Procedia Economics and Finance 15, 538 – 551.

Schiffman, L.G., Kanuk, L.L. and Wisenblit, J. (2010). Consumer Behavior. Pearson Education: Prentice Hall.

Vargas S., Aldana, F. J., & Vargas. A. E. (2021). Quality Perception of Gen Z Consumer on Traditional Banking Services. Open Journal of Business and Management, 9, 2548-2565.

Vogel, T., Wanke, M. (2016). Attitudes and Attitude Change. New York: Routledge-Psychology Press.