การพัฒนาหลักสูตรเกษตรปลอดภัยตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเกษตรปลอดภัยตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์  วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการสร้างและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและหาคุณภาพหลักสูตรเกษตรปลอดภัย โดยวิธีการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์กับเกษตรกร และนักวิชาการเกษตร หลังจากนั้นยกร่างหลักสูตรเกษตรปลอดภัยและนำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตรและนำไปหาประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรเกษตรปลอดภัยกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบหลังเรียนและแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลังการทดลองและขั้นตอนที่ 3 ประเมินการใช้หลักสูตรเกษตรปลอดภัย โดยการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้


ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนที่ 1 หลักสูตรเกษตรปลอดภัยที่พัฒนามีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.53/80.13  สามารถเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 2 ผลการทดลองใช้หลักสูตรเกษตรปลอดภัย พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเกษตรปลอดภัย พบว่าหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และขั้นตอนที่ 3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรเกษตรปลอดภัยในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.54, SD = 0.63) 

Article Details

How to Cite
กล่อมอิ่ม ก. (2023). การพัฒนาหลักสูตรเกษตรปลอดภัยตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1123–1134. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.95
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2560). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.

พิมพ์พร ธรรมสนธิ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ตำนานเมืองชาละวัน จังหวัดพิจิตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์. (2561). พันธุ์พืชในท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2564, จาก https://www.doa.go.th/ac/phetchabun/

สรเดช เลิศวัฒนาวนิช. (2560). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะในการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ออมสิน จตุพร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดการศึกษาอิงถิ่นฐานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา: กรณีชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จังหวัดนครสวรรค์(วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Tyler, R. (1962). Basic Principia of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago press.