ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ประสิทธิ์ เจตน์ทรงธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาลักษณะของการนำนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ และ (3) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบการนำนโยบายสวัสดิการไปปฏิบัติที่มีต่อผู้สูงอายุ การวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่สำคัญมาจากเอกสารต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ก็คือ แนวในการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างชุดหนึ่ง ข้อมูลที่เก็บได้ทั้งหมดทำการวิเคราะห์โดยการบรรยายความ


ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ค้นพบสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
(1) เกี่ยวกับลักษณะของนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ พบว่า นโยบายเข้าสู่ระเบียบวาระได้สำเร็จสาเหตุมาจากกระแสสามกระแส คือ กระแสการเมือง กระแสปัญหาผู้สูงอายุ และ กระแสนโยบาย
(2) เกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ภาวะความเป็นผู้นำ 2) ทรัพยากรนโยบาย (3) ลักษณะการบริหารจัดการ 4) ความต้องการของผู้สูงอายุ และ 5) ความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (3) เกี่ยวกับผลกระทบของการนำนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ อาจจะกล่าวได้ว่า มีทั้งผลกระทบทางบวกและทางลบ ผลกระทบในทางบวก ได้แก่ การที่ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพที่ดีขึ้นตลอดจนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบในทางลบ ได้แก่ งบประมาณมีไม่เพียงพอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติไม่มีความรู้ความเข้าใจผู้สูงอายุอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
เจตน์ทรงธรรม ป. (2023). ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1343–1353. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.109
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www. dop.go.th/th/know/1

กิตติยา ศรีเลิศฟา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอการนํานโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ณัฐธิดา จุมปา และเพ็ญพักตร์ ไชยนุรักษ์. (2561). สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและปลอดภัยเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างความเสมอภาคใน สังคม: กรณีศึกษาชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย. Veridian E Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ,11(3), 1508-1509.

ปาริชาติ ชาลีเครือ. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(4), 1620-1632.

ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการเตรียมความพร้อมด้านบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1607-1619.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.

โมรยา วิเศษศรี และคณะ.(2563).ประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 79-94.

ศิริสุข นาคะเสนีย. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 39-48.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และสุพรรณี ไชยอำนวย. (2560). สวัสดิการชุมชนกับการสร้างสังคมเข้มแข็งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(1), 96-110.

เอนก ศรีนันท และนิเทศ ตินณะกุล (2564) ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่สงผลตอประสิทธิผลการนํานโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 4(2), 8-26.